Abstract:
วิธีการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลอง โดยเปรียบเทียบระยะเวลา (Reaction time) และความแม่นยำของการตอบสนองต่อ Stroop color test ก่อนและหลังการสร้างความเครียดทางการรู้คิดโดยการใช้ Paced visual serial addition test ระหว่างกลุ่มพาร์กินสันและกลุ่มควบคุม โดยใช้ independent t-test จากนั้นจึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของตัวอย่างกับการเกิดความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด ได้แก่ อายุ คะแนนแบบทดสอบสภาพจิตใจแบบย่อ (TMSE) คุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ด้วยวิธี Linear regression analysis และทำการศึกษาเฉพาะในกลุ่มพาร์กินสันเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องของปัจจัยพื้นฐาน การเกิดความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (PDQ-8)
ผลการศึกษา กลุ่มพาร์กินสันใช้ระยะเวลาในการตอบสนองที่มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.008) ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการระยะเวลาการตอบสนองที่ยาวขึ้นในกลุ่มพาร์กินสันได้แก่ ขนาดยาเทียบเท่าขนาดเลโวโดปาที่ผู้ป่วยใช้ที่มากขึ้น (p=0.042) และอาการแข็งเกร็ง (Rigidity) (p = 0.048) และพบว่ามีความสัมพันธ์ระดับปานกลางระหว่างระยะเวลาการตอบสนองที่ยาวขึ้นกับคุณภาพชีวิตที่แย่ลงของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.323, p=0.042)
สรุป การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยพาร์กินสัน มีระยะเวลาในการตอบสนองต่อการทดสอบที่ต้องใช้สมาธิและการจดจ่อ ในสถานการณ์ที่เกิดความเครียดทางการรู้คิดที่ช้ากว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งอาจแสดงถึงการเกิดภาวะเหนื่อยล้าทางการรู้คิดในผู้ป่วยพาร์กินสันภายใต้ความเครียดดังกล่าว