DSpace Repository

ความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด ต่อตัวกระตุ้นด้านการคงสมาธิในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor รุ่งโรจน์ พิทยศิริ
dc.contributor.advisor ชาวิท ตันวีระชัยสกุล
dc.contributor.advisor ปรียา จาโกต้า
dc.contributor.author เสฎฐพงศ์ ชูนามชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:28:55Z
dc.date.available 2021-09-21T06:28:55Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76319
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract วิธีการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลอง โดยเปรียบเทียบระยะเวลา (Reaction time) และความแม่นยำของการตอบสนองต่อ Stroop color test ก่อนและหลังการสร้างความเครียดทางการรู้คิดโดยการใช้ Paced visual serial addition test ระหว่างกลุ่มพาร์กินสันและกลุ่มควบคุม โดยใช้ independent t-test จากนั้นจึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของตัวอย่างกับการเกิดความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด ได้แก่ อายุ คะแนนแบบทดสอบสภาพจิตใจแบบย่อ (TMSE) คุณภาพการนอนหลับ (PSQI) ด้วยวิธี Linear regression analysis และทำการศึกษาเฉพาะในกลุ่มพาร์กินสันเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องของปัจจัยพื้นฐาน การเกิดความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (PDQ-8) ผลการศึกษา กลุ่มพาร์กินสันใช้ระยะเวลาในการตอบสนองที่มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.008) ปัจจัยที่พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการระยะเวลาการตอบสนองที่ยาวขึ้นในกลุ่มพาร์กินสันได้แก่ ขนาดยาเทียบเท่าขนาดเลโวโดปาที่ผู้ป่วยใช้ที่มากขึ้น (p=0.042) และอาการแข็งเกร็ง (Rigidity) (p = 0.048) และพบว่ามีความสัมพันธ์ระดับปานกลางระหว่างระยะเวลาการตอบสนองที่ยาวขึ้นกับคุณภาพชีวิตที่แย่ลงของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.323, p=0.042) สรุป การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยพาร์กินสัน มีระยะเวลาในการตอบสนองต่อการทดสอบที่ต้องใช้สมาธิและการจดจ่อ ในสถานการณ์ที่เกิดความเครียดทางการรู้คิดที่ช้ากว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งอาจแสดงถึงการเกิดภาวะเหนื่อยล้าทางการรู้คิดในผู้ป่วยพาร์กินสันภายใต้ความเครียดดังกล่าว
dc.description.abstractalternative Methods We performed a quasi-experimental study of 40 non-demented Parkinson’s patients and 40 control subjects to determine difference in cognitive performance before and after cognitive stress. Baseline characteristics, TMSE score, PSQI score and PDQ-8 score were recorded to determine association between these variables and cognitive performance by linear regression model.  Results The percentage change of mean answer time between pre- and post-cognitive load was significantly higher in Parkinson’s group than in control group (p = 0.008). The levodopa equivalent dose (p=0.042) and rigidity (p = 0.048) were significant predictors of increased answer time. There was also a significant moderate degree negative correlation between percentage change of maximal answer time pre- and post-cognitive load and PDQ-8 score in Parkinson’s group (r = 0.323, p = 0.042).  Conclusion  We demonstrated impairment of ability to maintain cognitive performance in stroop task after cognitive stress in Parkinson’s patients compared to controls. This may be an essential clue in development of tools to measure cognitive fatigue objectively.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1337
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Neuroscience
dc.title ความเหนื่อยล้าทางการรู้คิด ต่อตัวกระตุ้นด้านการคงสมาธิในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
dc.title.alternative Cognitive fatigue from attention cognitive load in Parkinson disease
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1337


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record