DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณับผลิกา กองพลพรหม
dc.contributor.author ญาณิศา เกลื่อนวัน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:30:42Z
dc.date.available 2021-09-21T06:30:42Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76337
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ที่มา: การไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถเพิ่มอัตราการไหลของอากาศช่วงหายใจออกได้ แม้จะมีความแตกต่างของระดับความดันภายในหลอดลม  ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจได้ถึง 60%  อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อแนะนำหรือแนวทางการประเมินเพื่อหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างชัดเจน วัตถุประสงค์ของการศึกษา: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ และสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้เป็นเวลาอย่างน้อย 72ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก  ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก (SBT with Pressure Support Ventilation) และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที (SBT with T-piece) วิธีศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม และไม่ด้อยกว่า  โดยศึกษาในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวซึ่งได้รับการช่วยหายใจผ่านทางท่อช่วยหายใจเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และเข้าได้กับเกณฑ์ความพร้อมเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจ  ทำการสุ่มด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวกในระยะเวลา 30 นาที และกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีในระยะเวลา 30 นาที   วัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ คืออัตราการถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ และสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้เป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมง  และวัตถุประสงค์รองของการศึกษา ได้แก่ อัตราของภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 7 วัน, ระยะเวลาที่ต้องมีการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจ, อัตราการผ่านขั้นตอนการทดสอบการหายใจ เป็นต้น ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้าสู่การศึกษาทั้งสิ้น 99 ราย  เป็นเพศชาย 50.5%  มีค่ามัธยฐานของอายุที่ 70 [23] ปี  และมีสาเหตุที่นำมาสู่ภาวะการหายใจล้มเหลวจากระบบทางเดินหายใจเป็นส่วนใหญ่ (68.7%)  เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติแล้ว พบว่าอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จเป็นเวลาอย่างน้อย 72 ชั่วโมงของกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก ไม่ด้อยกว่ากลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที  คิดเป็น 82% และ 81.63% ตามลำดับ (95%CI -0.148 to 0.156, p=0.0475)  รวมถึงอัตราการผ่านขั้นตอนการทดสอบการหายใจ (96% และ 93.9% ตามลำดับ; 95%CI -0.065 to 0.108, p<0.001) พบว่าไม่ด้อยกว่าด้วยเช่นกัน  ส่วนอัตราของภาวะการหายใจล้มเหลวหลังการถอดท่อช่วยหายใจในช่วง 7 วันของกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และกลุ่มที่ได้การทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที พบว่าไม่สามารถสรุปผลได้ (22.9% และ 15.2% ตามลำดับ; 95%CI -0.081 to 0.235, p=0.369)  นอกจากนี้ยังไม่มีความแตกต่างทางสถิติของระยะเวลาที่ต้องมีการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจอีกด้วย (55 [95.5] ชั่วโมง และ 25.33 [48] ชั่วโมงตามลำดับ, p=0.683) สรุป: อัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจได้สำเร็จ ด้วยวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก ไม่ด้อยกว่าการทดสอบการหายใจด้วยออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวทีในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก  และการศึกษานี้ยังเป็นการศึกษาแรกที่แสดงถึงความไม่แตกต่างของผลการทดสอบการหายใจระหว่าง 2 วิธีดังกล่าว ในแง่ของอัตราการหย่าเครื่องช่วยหายใจและถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จในผู้ป่วยที่มีภาวะการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออกนี้
dc.description.abstractalternative Background: Expiratory flow limitation (EFL) is an inability to exceed a certain flow regardless of the pressure exerted, which appears in 60% of patients with extubation failure. However, an appropriate weaning method for the patients with EFL remains unknown. Objectives: We aimed to evaluate an effect of different techniques of spontaneous breathing trials (SBT) on a success rate of extubation in the patients with EFL. Methods: We conducted a non-inferiority randomized controlled trial comparing between 30-minute pressure support ventilation (PSV) and 30-minute T-piece in ventilated patients with EFL who got ready to wean. The primary outcome was successful extubation during a 72-hour post-extubation period. Secondary outcomes were a reintubation rate within 7 days, time to reintubation, and a SBT success rate. Results: A total of 99 ventilated patients with EFL consisting of male (50.5%) with the median age of 70 [23] years were recruited. The most common cause of acute respiratory failure was intrapulmonary cause (68.7%). The eligible patients were randomized into 2 groups with a ratio of 1:1. The success rate of extubation during the 72-hour period in the PSV group was non-inferior to the T-piece group: 82% and 81.63%, respectively (95%CI -0.148 to 0.156, p=0.0475). There was also non-inferiority in the SBT success rate (96% in the PSV group VS 93.9% in the T-piece group; 95%CI -0.065 to 0.108, p<0.001). The reintubation rate within 7 days comparing between the 2 groups was inconclusive (22.9% in the PSV group VS 15.2% in the T-piece group; 95%CI -0.081 to 0.235, p=0.369). However, there was no significant difference in the median time to reintubation between these 2 groups (55 [95.5] hours in PSV VS 25.33 [48] hours in the T-piece group, p=0.683). Conclusions: Among patients with EFL, the 30-minute SBT with PSV was non-inferior to the T-piece SBT in terms of the successful extubation during the 72-hour period and successful SBT. This was the first study demonstrating that the different techniques of SBT did not affect the weaning outcomes in the patients with EFL.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1318
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.subject.classification Medicine
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบอัตราการถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ ระหว่างวิธีการทดสอบการหายใจด้วยแรงดันบวก และวิธีการทดสอบการหายใจด้วยการให้ออกซิเจนผ่านท่อวงจรรูปตัวที ในผู้ป่วยที่มีการไหลของอากาศถูกจำกัดในช่วงหายใจออก
dc.title.alternative Comparison of success rate of extubation between spontaneous breathing trial with pressure support ventilation and t-piece in patients with expiratory flow limitation
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1318


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record