DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดการกลายพันธุ์ของยีนเอพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซ็บเตอร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ภายหลังที่ได้รับยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนส

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์
dc.contributor.author ณิชา ซึงสนธิพร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:30:43Z
dc.date.available 2021-09-21T06:30:43Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76339
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ที่มา: กลไกการดื้อยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสรุ่นที่หนึ่งหรือสองในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ที่พบได้บ่อยที่สุดคือการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M แต่ในปัจจุบันยังไม่มีปัจจัยที่แน่ชัดที่สามารถทำนายการเกิดการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่ามีปัจจัยใดหรือไม่ที่สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ปฐมภูมิของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิด exon 19 deletion หรือ L858R mutation และมีการดำเนินโรคมากขึ้นภายหลังที่ได้รับยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสรุ่นที่หนึ่งหรือรุ่นที่สอง โดยมีตัวชี้วัดปฐมภูมิคือความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางคลินิกกับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M ผลการศึกษา: ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาวิจัยทั้งหมด 207 ราย ตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M ในผู้ป่วยร้อยละ 66.7 ผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 64 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 67.6 และเป็นมะเร็งปอดชนิดอะดีโนร้อยละ 95.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการวิเคราะห์ข้อมูลแบบตัวแปรเดียว ได้แก่ การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนส (OR 2.74, p = 0.006) และระยะเวลาปลอดการลุกลามโรคของการรักษาด้วยยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน (OR 3.71, p = 0.001) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบพหุตัวแปรพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนส (OR 2.61, p = 0.009) อัตราการรอดชีวิตรวมในกลุ่มที่มีและไม่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M เท่ากับ 41.9 เดือนและ 20.1 เดือนตามลำดับ (log rank p-value < 0.001) สรุปผลการศึกษา: การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ และมีการดำเนินโรคมากขึ้นภายหลังที่ได้รับยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนสรุ่นที่หนึ่งหรือรุ่นที่สอง
dc.description.abstractalternative Background: The most common resistance mechanism to 1st- or 2nd-generation EGFR tyrosine kinase inhibitor (TKI) in EGFR-mutant non-small cell lung cancer (NSCLC) patients is the T790M mutation which confers a sensitivity to osimertinib. However, there are limited and inconclusive data regarding predictive factors for the acquired T790M mutation. Objective: The aim of this study was to identify clinical factors associated with secondary T790M mutation in this population. Methods: We performed a retrospective study in sensitizing EGFR-mutation, exon 19 deletion or exon 21 L858R point mutation, advanced NSCLC patients who had disease progression following treatment with 1st- or 2nd-generation EGFR-TKI. The primary outcome was to identify clinical parameters associated with the secondary T790M mutation. Results: We recruited 207 EGFR-mutant lung cancer patients who were diagnosed and received 1st- or 2nd-generation EGFR-TKI between November 2011 and March 2020 and had disease progression. We found the T790M mutation in 138 of 207 patients, 66.7%. With univariate analysis, occurrence of T790M mutation was significantly associated with prior response to EGFR-TKI (OR 2.74, p = 0.006) and progression-free survival longer than 6 months (OR 3.71, p = 0.001). However, only the prior response to EGFR-TKI remained the factor significantly associated with T790M mutation under multivariate analysis (OR 2.61, p = 0.009). The median overall survival in T790M positive patients was 41.9 months, which was longer than those of T790M negative patients, 20.1 months (log rank p-value < 0.001). Conclusion: Prior response to EGFR-TKI was the factor significantly associated with secondary T790M mutation in patients with EGFR-mutant advanced NSCLC upon disease progression following treatment with 1st- or 2nd- generation EGFR-TKI.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1339
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดการกลายพันธุ์ของยีนเอพิเดอร์มอลโกรทแฟกเตอร์รีเซ็บเตอร์ชนิดทุติยภูมิแบบ T790M ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ภายหลังที่ได้รับยาต้านอีจีเอฟอาร์ไทโรซีนไคเนส
dc.title.alternative Factors associated with t790m secondary EGFR mutation in patient with advanced EGFR-mutant non-small cell lung cancer after treatment with EGFR tyrosine kinase inhibitor
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1339


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record