DSpace Repository

การศึกษาการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่มีอาการผิดปกติทางหัวใจและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนควบคุมระดับไวรัสในกระแสเลือดได้  

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุดารัตน์ สถิตธรรมนิตย์
dc.contributor.advisor สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง
dc.contributor.author ถิรวัฒน์ จิ้วผกานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:30:43Z
dc.date.available 2021-09-21T06:30:43Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76340
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract ที่มา: จากการพัฒนาศักยภาพของยาต้านไวรัสเอชไอวีจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้อัตราการตายของประชากรเอชไอวีทั่วโลกลดลงเช่นเดียวกับประชากรเอชไอวีในประเทศไทย ส่งผลให้ประชากรเอชไอวีมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้นและใกล้เคียงกับประชากรทั่วไป สิ่งที่ตามมาก็คือปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมทั้งความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของหัวใจที่มากขึ้นในประชากรกลุ่มนี้ การประเมินการทำงานหัวใจห้องล่างซ้ายโดยใช้การวิเคราะห์ global longitudinal strain (LVGLS) ช่วยให้พบความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายในระยะต้นก่อนมีอาการแสดงทางโรคหัวใจและหลอดเลือดและก่อนการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะพักทั่วไป แต่ยังมีข้อมูลจำกัดในการศึกษาในกลุ่มประชากรเอชไอวีในประเทศไทยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนควบคุมระดับไวรัสในกระแสเลือดได้ วิธีการวิจัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ในผู้ป่วยเอชไอวีอายุมากกว่า 50 ปี ที่ได้รับยาต้านไวรัสจนควบคุมระดับไวรัสในกระแสเลือดได้จากการศึกษา ECHO-THAI-HAART study โดยปราศจากปัจจัยเสี่ยงและการวินิจฉัยทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้รับการตรวจ LVGLS โดยเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีที่มีเพศและอายุคล้ายคลึงกัน นอกจากนั้นประชากรทั้งสองกลุ่มก็ได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะพัก ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลการตรวจที่แสดงถึงภาวะโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น cardio-ankle vascular index (CAVI), ankle-brachial index (ABI), coronary artery calcium score (CAC). ผลการศึกษา: ประชากรเข้าร่วมการศึกษาจำนวน 150 รายแบ่งเป็นประชากรกลุ่มเอชไอวี จำนวน 90 ราย และประชากรทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 60 ราย โดยประชากรกลุ่มเอชไอวีมีอายุเฉลี่ย 54 ปี มีค่ากลางระยะเวลาที่ได้รับการวินิจฉัยเอชไอวีอยู่ที่ 18 ปี ระยะเวลาที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีอยู่ที่ 15 ปี และมีค่าเฉลี่ย CD4 T-cell อยู่ที่ 651 เซลล์/ลูกบาศก์เมตร ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ของการวิเคราะห์ LVGLS ระหว่างประชากรทั้งสองกลุ่ม (ประชากรกลุ่มเอชไอวี -20.3% และ ประชากรทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี -21.2%, p-value = 0.11) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบตัวแปรเดียวและตัวแปรรวมพบว่าการลดลงของ LVGLS สัมพันธ์กับค่าความดันไดแอสโตลิกที่เพิ่มขึ้น (r = 0.244, p-value = 0.029) และค่า ABI ที่ลดลง (r = -0.161, p-value = 0.044) และผลการตรวจค่าหลอดเลือดแดงแข็งไม่ว่าจะเป็น ABI, CAVI, CACS ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในประชากรทั้งสองกลุ่ม สรุป: ประชากรเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสจนควบคุมระดับไวรัสในกระแสเลือดได้และปราศจากปัจจัยเสี่ยงและการวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความผิดปกติกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายในระยะต้นก่อนแสดงอาการเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรทั่วไปที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี
dc.description.abstractalternative Background: In the generation of highly active antiretroviral therapy (HAART), among of HIV-infected patients have an increased survival. However, multiple factors including traditional cardiovascular risks, chronic inflammation, immune-related HIV infection and treatment were correlated with increased cardiovascular diseases in long-term HIV survivors. There was no established evidence of using LV global longitudinal strain (LVGLS) in subclinical LV dysfunction in treated HIV-infected patients without traditional cardiovascular risk factors. Methods: A cross sectional study consist of virologically suppressed HIV-infected patients, aged > 50 years, treated with HAART from ECHO-THAI HAART study. Patients with traditional cardiovascular risks as well as previous cardiovascular events were excluded. LVGLS was analysed and compared with age- and gender-matched normal subjects. Atherosclerotic risk findings involving cardio-ankle vascular index (CAVI), ankle-brachial index (ABI), coronary artery calcium score (CAC), and blood tests for inflammatory markers were performed. Result: Ninety HIV-infected patients and sixty normal healthy controls were enrolled. Demographic data showed mean age of 54 years in HIV-infected group and 55 years in normal healthy control group. All patients in HIV group were virologically suppressed with mean CD4 T-cell counts of 651 cells/mm3. Median durations of diagnosis and HAART were 18 and 15 years, respectively. There were no statistical differences of LVGLS between HIV and normal healthy control group (-20.3% and -21.2%, p-value = 0.11). ABI, CAVI, CACS were not different between HIV and normal healthy control group. Multivariated analysis was showed a significant positive association between LVGLS and diastolic blood pressure (r = 0.244, p-value = 0.029) and negative association between LVGLS and ABI (r = -0.161, p-value = 0.044). Conclusions: In these virologically suppressed HIV-infected patients without cardiovascular risks, HAART, itself, did not influence subclinical LV dysfunction as well as development of atherosclerosis.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1308
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.title การศึกษาการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้าย ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่มีอาการผิดปกติทางหัวใจและได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสจนควบคุมระดับไวรัสในกระแสเลือดได้  
dc.title.alternative Subclinical left ventricular dysfunction in virologically suppressedhiv-infected patients receiving antiretroviral therapy
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.1308


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record