dc.contributor.advisor |
รภัส พิทยานนท์ |
|
dc.contributor.advisor |
รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร |
|
dc.contributor.author |
นที ฟักนาค |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:30:46Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:30:46Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76348 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
ที่มาของการศึกษา ตามแนวทางปฏิบัติของสมาคมแพทย์ทางเดินอาหารประเทศอังกฤษ ในการวินิจฉัยและการจัดการผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารปี 2562 แนะนำให้ตัดชิ้นเนื้อตาม ซิดนีย์โปรโตคอล รวมทั้งหมด 5 ชิ้น เพื่อวินิจฉัยภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้เป็นบริเวณกว้าง อย่างไรก็ตามการตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์ อย่างเดียว น่าจะเพียงพอที่จะวินิจฉัยภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้เป็นบริเวณกว้างโดยปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบของทั้งสองวิธีนี้
วิธีการศึกษา ผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้ ใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2562 จนถึง ตุลาคม 2563 ส่องกล้องโดยแพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชียวชาญในการใช้กล้องแนโรวแบนด์ ทำการส่องกล้องและตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์ อย่างเดียว หรือ ตัดชิ้นเนื้อแบบสุ่ม ( ถ้าไม่พบ ภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้จากการใช้กล้องแนโรวแบนด์ ) รวมทั้งหมด 5 จุด ตามซิดนีย์โปรโตคอล
ผลการศึกษา รวบรวมข้อมูลทั้งหมด 95 ราย เพศชาย 50 ราย (ร้อยละ 52.6) มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 64.7 ± 10.8 ปี พบภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไสเป็นบริเวณกว้าง 43 ราย (ร้อยละ 45.3) ค่าความไว ความจำเพาะ พยากรณ์ผลบวก และ พยากรณ์ผลลบ ของการส่องกล้องและตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์ อย่างเดียว เปรียบเทียบกับ ตัดชิ้นเนื้อตามซิดนีย์โปรโตคอล ร้อยละ 88.4 เทียบกับ ร้อยละ100, ร้อยละ 90.3 เทียบกับ ร้อยละ 90.3, ร้อยละ 88.4 เทียบกับ ร้อยละ 89.6 และ ร้อยละ 90.3 เทียบกับร้อยละ 100 ตามลำดับ และการตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์อย่างเดียว ใช้จำนวนชิ้นเนื้อน้อยว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (311เทียบกับ 475, p<0.001) และพบว่าแพทย์ที่ไม่ใช้ผู้เชียวชาญในการใช้กล้องแนโรวแบนด์สามารถมีความไวในการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไสเป็นบริเวณกว้าง ได้ร้อยละ100 เมื่อทำการตรวจชิ้นเนื้อด้วยกล้องแนโรวแบนด์ในผู้ป่วย มากกว่า 60ราย
สรุป การตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์อย่างเดียว โดยแพทย์ที่ไม่ใช่ผู้เชียวชาญในการใช้กล้องแนโรวแบนด์ นั้น ให้ค่าความไวที่น้อยว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการตัดชิ้นเนื้อตาม ซิดนีย์โปรโตคอล แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทำการส่องกล้องมากกว่า 60 ราย จะให้ความไวที่ร้อยละ 100 เทียบเท่ากันในทั้งสองวิธี โดยที่การตัดชิ้นเนื้อแบบเฉพาะเจาะจงด้วยกล้องแนโรวแบนด์ อย่างเดียว ใช้จำนวนชิ้นเนื้อน้อยว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการวินิจฉัย ภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารกลายเป็นเยื่อบุลำไส้เป็นบริเวณกว้าง |
|
dc.description.abstractalternative |
Background: According to the recent guideline, patients with gastric intestinal metaplasia (GIM) should have at least 5 biopsies performed under the Sydney protocol to evaluate the risk of extensive GIM. However, only narrow band imaging (NBI)-targeted biopsy may be adequate to diagnose extensive GIM. There has been no direct comparison on the performance status of these two protocols.
Methods: A cross-sectional study was conducted between November 2019 and October 2020. Patients with histology proven GIM were enrolled. All patients underwent standard esophagogastroduodenoscopy (EGD) by gastroenterology trainee. The performing endoscopists took biopsy from either suspected GIM area (NBI-targeted biopsy) or randomly (if negative for GIM read by NBI) to complete 5 areas of the stomach as per the Sydney protocol. The gold standard for GIM diagnosis was the pathology read by two gastrointestinal pathologists with unanimous agreement.
Results: A total of 95 patients with GIM were enrolled and 50 (52.6%) were male with mean age of 64 years. Extensive GIM was diagnosed in 43 patients (45.3%). The sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value (NPV) and accuracy of NBI-targeted biopsy vs. the Sydney protocol were 88.4% vs.100 %, 90.3% vs. 90.3%, 88.4% vs. 89.6%, 90.3% vs. 100% and 89.5% vs. 94.7%, respectively. The number of specimens from NBI-targeted biopsy was significantly lower than that from Sydney protocol (311vs.475, p<0.001). non-NBI expert was able to optimally diagnose GIM by using NBI-targeted biopsy alone, achieved sensitivity of 100 % after performing EGD in 60 GIM cases.
Conclusion: NBI-targeted biopsy by non-NBI expert gastroenterologist provided sensitivity lesser than Sydney protocol. however after performing EGD in 60 GIM cases NBI targeted biopsy alone achieved sensitivity of 100 % as same as Sydney protocol. Thus, targeted biopsy that requires less number of specimens is adequate for extensive GIM diagnosis. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1309 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
การศึกษาความไวของการตัดชิ้นเนื้อแบบมีเป้าหมายและแบบสุ่มตามแบบซิดนีย์โปรโตคอลโดยวิธีส่องกล้องแนร์โรวแบนด์ อิมเมจจิง ในการวินิจฉัยภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารเปลี่ยนเป็นเยื่อบุลำไส้ชนิดบริเวณกว้าง |
|
dc.title.alternative |
Study of sensitivity of targeted biopsy and random biopsy within Sydney protocol by using narrow band imaging for extensive gastric intestinal metaplasia diagnosis |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.1309 |
|