dc.contributor.advisor |
วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี |
|
dc.contributor.author |
อาภาศิริ แต่งประกอบ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:30:57Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:30:57Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76370 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
ที่มาของปัญหา: ประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม มีการผลิตข้าวเพื่อบริโภคภายในและส่งออก ปัจจุบันมีการเร่งเพิ่มผลผลิต จึงมีการใช้สารเคมีและเกิดผลต่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อบรรเทาภาวะนี้ จึงมีการใช้เกษตรอินทรีย์มาเป็นทางเลือกมากขึ้น วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความชุกของปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิตทางสุขภาพระหว่างชาวนาที่ทำเกษตรอินทรีย์และชาวนาที่ทำเกษตรเคมีในจังหวัดสุรินทร์ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Cross-sectional analytic study ประกอบด้วยกลุ่มชาวนาที่ทำเกษตรอินทร์จำนวน 364 ราย และกลุ่มชาวนาที่ทำเกษตรเคมี 345 ราย ที่ทำการปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์อย่างน้อย 1 ปี เก็บข้อมูลปัญหาสุขภาพช่วง 3 เดือน และ 1 ปีที่ผ่านมาและคุณภาพชีวิตทางสุขภาพด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วย Chi-square และ Binary logistic regression ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มชาวนาที่ทำเกษตรอินทรีย์ พบว่า ความชุกของอาการท้องเสีย (adjusted OR=3.10, p-value 0.04) และปวดกล้ามเนื้อ (adjusted OR=2.19, p-value <0.01) ในกลุ่มชาวนาที่ทำเกษตรเคมีสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคุณภาพชีวิตทางสุขภาพในกลุ่มชาวนาที่ทำเกษตรเคมีสูงกว่ากลุ่มชาวนาเกษตรอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป: เพื่อบรรเทาผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการปลูกข้าว ควรสนับสนุนการใช้เกษตรอินทรีย์อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความสมดุลระหว่างผลดีต่อสุขภาพและระดับคุณภาพชีวิตทางสุขภาพ |
|
dc.description.abstractalternative |
Background: Thailand is an agricultural country where rice is produced for domestic consumption as well as export. Her current acceleration of productivity leads to increased use of chemicals and their health effects. To ameliorate the situation, organic farming is attempted as an alternative. Objectives: To compare the prevalence of certain health problems and quality of life between chemical and organic rice farmer groups in Surin Province, Thailand. Materials and Methods: A Cross-sectional analytic study consisting of 345 chemical and 364 organic rice farmers was conducted among those who have been planting rice in Surin Province for at least 1 year. Data about the target health complaints during the past 3-month and 1-year periods as well as current quality of life level were collected by using a set of interview questionnaires. Chi-square and binary logistic regression were utilized in the group comparison. Results: Compared to the organic rice farmers, the prevalence diarrhea (OR = 3.10, p-value = 0.02), and muscle strain (OR = 2.19, p-value <0.01) were significantly higher among the chemical rice farmers. Quality of life was however significantly higher among the chemical than the organic rice farmers. Conclusion: To ameliorate adverse health effect of chemicals used in rice farming, organic rice farming should be appropriately encouraged by considering the balance between health versus quality of life. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.625 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Health Professions |
|
dc.title |
การเปรียบเทียบความชุกของอาการเฉียบพลันทางสุขภาพและระดับคุณภาพชีวิตทางสุขภาพระหว่างชาวนาที่ทําเกษตรอินทรีย์และชาวนาที่ทําเกษตรเคมีในจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
Comparison of acute health effect prevalence and health-related quality of life between organic and chemical rice farmers in Surin province, Thailand |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.625 |
|