dc.contributor.advisor |
สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย |
|
dc.contributor.author |
มณฑิรา เหมือนจันทร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:31:01Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:31:01Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76377 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการติดโซเชียลมีเดีย ความภาคภูมิใจในตนเอง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอหาดใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 จำนวน 415 คน ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้โซเชียลมมีเดีย, แบบทดสอบการติดโซเชียลมีเดีย (Social media addiction test: SMAT), แบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนเบิร์กฉบับปรับปรุง(The Revised version of Thai Rosenberg Self Esteem Scale: Revised Thai RSES), แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ ฉบับภาษาไทย (Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index, T PSQI), แบบวัดแบบวัดภาวะซึมเศร้า Center for Epidemiological Studies Depression Scale (CES D) ฉบับภาษาไทย
ผลการศึกษาพบว่า จากนักเรียนทั้งหมดร้อยละ 15.7 มีภาวะติดโซเชียลมีเดีย และกลุ่มนักเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.7 มีความภาคภูมิใจอยู่ระดับปานกลาง, ร้อยละ 21.4 อยู่ในระดับต่ำและร้อยละ 16.9 อยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการติดโซเชียลมีเดียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .05 ได้แก่ การใช้ อินสตาแกรม ภาวะซึมเศร้า คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ระยะเวลาที่ใช้โซเชียลมีเดียในวันธรรมดาและวันหยุด ในขณะที่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความภาคภูมิใจในตนเองต่ำได้แก่ อายุที่ ≤ 17 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับบิดาแบบขัดแย้ง ภาวะซึมเศร้า คุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี และพบว่าพฤติกรรมการติดโซเชียลมีเดียมีความสัมพันธ์ทางลบกับความภาคภูมิใจในตนเอง
1 ใน 6 ของกลุ่มตัวอย่างจากการศึกษานี้มีภาวะติดโซเชียลมีเดีย ซึ่งผู้ที่ติดโซเชียลมีเดียพบว่ามีโอกาสมีระดับความภาคภูมิใจในตนเองต่ำและมีภาวะซึมเศร้ามากกว่า ดังนั้นนักเรียนที่มีความเสี่ยงควรได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า และผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริมและป้องกันเพื่อให้นักเรียนมีระดับภาคภูมิใจที่ดี และมีการใช้โซเชียลมีเดียลดลง |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this cross-sectional descriptive study was employed with participation of 415 high school students in Hat Yai municipality. The instruments included a structured questionnaire assessed for demographic data and patterns of social media use, Social media addiction test (SMAT), Thai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index (T-PSQI), Center for Epidemiological Studies-Depression Scale (CES-D) and Revised version of Thai Rosenberg Self-Esteem Scale (RSES). Among participants, 15.7% had social media addiction. 61.7% had moderate level of self-esteem, while 21.4% in low level and 16.9% in high level. Factors associated to social media addiction with P < 0.05 included using Instagram, having depression, poor quality of sleep, longer online time spent on weekday and holiday. Related factors to low self-esteem were age less than or equal to 17 years old, poor relationship (father), having depression and poor quality of sleep. Also, it is found that social media addiction was negatively correlated to self-esteem. One over six of subjects in this study had social media addiction, Sample with high addiction in social media tended to have lower self-esteem and more depression. Therefore, it is suggested that high school student at risk should be screened for depression and the related parties should take an action in increasing students’ self-esteem and decreasing social media addiction level. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1256 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Medicine |
|
dc.title |
พฤติกรรมการติดโซเชียลมีเดียและความภาคภูมิใจในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอหาดใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 |
|
dc.title.alternative |
Social media addiction and self-esteem of hight school students in Hat Yai municipality, secondary educational service area office 16 |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
สุขภาพจิต |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.1256 |
|