DSpace Repository

อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีต่อการคงอยู่ในงานของข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุธรรมา นิติเกษตรสุนทร
dc.contributor.author นันท์นลิน เทพคง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-09-21T06:35:59Z
dc.date.available 2021-09-21T06:35:59Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76443
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ความผูกพันต่อองค์การ และคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีต่อการคงอยู่ในงานของข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพล และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการกำหนดนโยบายของผู้บังคับบัญชาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการตำรวจของกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ดีขึ้น การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากประชากร ข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพล จํานวน 132 คน ได้แบบสอบถามครบถ้วนสมบูรณ์ 132 ชุด สําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ดําเนินการโดยใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (Face-to-Face) ผ่านแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured- Selection Interview) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) และสถิติ Independent T-Test กับ One Way ANOVA ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงาน และปัจจัยที่มีต่อการคงอยู่ในงานอยู่ในระดับ “มาก” เมื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์การที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพลด้วยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) พบว่าปัจจัยด้านบรรทัดฐาน ส่งผลต่อการคงอยู่ในงาน และเมื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพล พบว่า ความมั่นคงในหน้าที่ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ความสัมพันธ์ทางสังคม การบริหารองค์การของผู้บังคับบัญชา และความภูมิใจต่อความรับผิดชอบขององค์การ ส่งผลต่อการคงอยู่ในงาน นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจ พบว่า ข้าราชการตำรวจที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุราชการ ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสังกัดที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการคงอยู่ในงานไม่แตกต่างกัน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า สิ่งจูงใจในการทำงานที่ส่งผลให้ข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพลตั้งใจคงอยู่ในงานต่อไปโดยไม่คิดจะลาออก ได้แก่ ต้องการความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตด้านอื่น ๆ โดยลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ต้องการงานที่ท้าทายเพื่อความก้าวหน้า ความสำเร็จ และการได้รับการยอมรับทั้งระบบบุคคล องค์การและสากล ต้องการรางวัลและค่าตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินที่เหมาะสมและเป็นธรรม ต้องการสัมพันธภาพที่ดีจากหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน และต้องการเรียนรู้และพัฒนาในส่วนที่สอดคล้องกับงานในสายอาชีพรวมถึงการพัฒนาความฉลาดรอบด้าน ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานควรพัฒนาความผูกพันต่อองค์การ และคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานให้เพิ่มขึ้นและนําผลจากการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนรักษาบุคลากรให้คงอยู่ในงานต่อไป
dc.description.abstractalternative This research objectives are to study the influence of personal factors, organizational commitment, and quality of work life on job retention of Personnel Division Police, and to provide guidance for improving the quality of working life. The research uses a mixed method by using questionnaires to collect data from 132 police officers of Personnel Division Police. The qualitative research uses one-on-one interviews (Face-to-Face) through semi-structured interviews. Data was analyzed by using multiple linear regression, independent samples t-test, and one way ANOVA statistics. The quantitative research shows that some of respondents consider the whole organizational commitment, quality of work life, and the factors affecting job retention at "High" level. When analyzing organizational commitment with multiple linear regression method found that the normative factor affects the job retention. The research also shows that quality of work life that influenced job retention of Personnel Division Police officer are duty stability, personnel capacity development, social relations, commander's organizational management and pride of corporate responsibility. In addition, when comparing Personnel Division Police officer opinions on job retention, it was found that the personal factors in different gender, age, marital status, education level, duration of work, average monthly income level and affiliations have no differences. The qualitative research found that Personnel Division Police officer having an intention to remain in the job for many reasons, such as the need for work-life balance to increase work efficiency. The need for a challenging job to progress a success and being accepted by individual, system, organization, and international level. The need for rewards and compensation both in monetary and non-monetary that are appropriate and fair. The need for a good relationship from the commander and coworkers and the need to learn and develop their career path, including the development of all-round intelligence. The researcher suggested that the division should develop organizational commitment and the quality of work life that affect job retention to increase the efficiency of the organization.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.454
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีต่อการคงอยู่ในงานของข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
dc.title.alternative The effects of organizational commitment and quality of work life on job retention of personnel division police, Royal Thai police
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.454


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record