dc.contributor.advisor |
วันชัย มีชาติ |
|
dc.contributor.author |
วนัสดา สุขรุ่งเรือง |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-21T06:36:16Z |
|
dc.date.available |
2021-09-21T06:36:16Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76464 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการจัดสวัสดิการยืดหยุ่น ที่เหมาะสมกับความต้องการของบุคลากรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จํานวน 370 คน ผลการศึกษาพบว่า ระบบสวัสดิการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็น แบบให้เหมือนกันทุกคน (One size fit all) สวัสดิการที่จัดสรรให้ส่วนใหญ่ใช้ได้ในสภาวะวิกฤติ และเน้นรองรับบุคลากรที่มีบุตร โดยสวัสดิการที่บุคลากรเลือกใช้มากที่สุด คือ การเบิกค่ารักษาพยาบาล มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก และสวัสดิการที่บุคลากรเลือกใช้น้อยที่สุด คือ ห้องออกกําลังกาย มีความพึงพอใจการ ให้บริการห้องออกกําลังกายอยู่ในระดับพึงพอใจน้อย ส่วนสวัสดิการเพิ่มเติมที่บุคลากรต้องการมากที่สุด ได้แก่ สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมด้านกองทุนสํารองเลี้ยงชีพฯ รองลงมาเป็นการเบิกค่าตัดแว่นสายตา ตามลําดับ นอกจากนี้ยัง พบว่า ลักษณะส่วนบุคคลที่เป็น ปัจจัยส่งผลให้บุคลากรมีความต้องการสวัสดิการเพิ่มเติมที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ สถานะการมีบุตร และช่วงอายุ (Generation) และยังพบว่าบุคลากรส่วนใหญ่ไม่มีบุตร สอดคล้องกับแนวโน้มโครงสร้างประชากรที่มีอัตราการเกิด ลดลง ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการที่สามารถรองรับการดําเนินชีวิตของบุคลากรได้ทุกกลุ่ม โดยสามารถวิเคราะห์รูปแบบการจัดสวัสดิการยืดหยุ่นที่เหมาะสมได้ 2 รูปแบบ ประกอบด้วย สวัสดิการยืดหยุ่น แบบคะแนนยืดหยุ่น (Flex – point) สําหรับใช้ในระยะแรก และสวัสดิการยืดหยุ่นแบบเลือกเป็นชุด (Alternative Dinner Plan) สําหรับระยะกลางและระยะยาว |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aims to examine and propose a flexible welfare strategy that corresponds with the need of the employees in the Expressway Authority of Thailand (EXAT). To explore the employee demands, the sample group of 370 employees of the Expressway Authority of Thailand is analyzed. The research result reveals that the Expressway Authority of Thailand implements the one-size-fits-all welfare. Among the welfares that are widely implemented during the crisis, which also focuses on supporting the employees with children, the welfare that the employee has preferred the most and has the highest satisfaction rate is the medical expense reimbursement. In contrast, the least chosen welfare is the exercise room which is reported to have a low satisfactory level. Other welfares, which are in the rising demand, are the provident fund, followed by prescription eyeglasses reimbursement. The study also indicates that personal factors that affected the need for additional welfares among the employees are various, including gender, parental status, and generation. Also, most employees do not have children, which parallels the declining birth rate in society. Thus, the study proposes the two flexible strategies that could support the development of a welfare system to support all groups of employees, which are the Flex-point welfare strategy for the early stage and the Alternative Dinner Plan for the medium-term and long-term plan. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.450 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
การจูงใจในการทำงาน |
|
dc.subject |
ความมั่นคงในการทำงาน |
|
dc.subject |
การสำรวจทัศนคติของลูกจ้าง |
|
dc.subject |
Employee motivation |
|
dc.subject |
Job security |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
ศึกษารูปแบบสวัสดิการยืดหยุ่นที่เหมาะสมกับความต้องการของบุคลากร กรณีศึกษา การทางพิเศษแห่งประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
A study of appropiate flexible model for the need of personnel's welfare : case study of expressway authority of Thailand |
|
dc.type |
Independent Study |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.IS.2020.450 |
|