Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญเพื่อประยุกต์แนวความคิดของทฤษฎีการอ้างอิงสรุปมาใช้ในการตรวจให้คะแนนการสอบเรียงความในหลาย ๆเงื่อนไขและเพื่อสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปในเงื่อนไขต่าง ๆ ของการทดสอบ ปัจจัยประกอบ (facets) ของการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ผู้สอบจำนวน 200 คนที่เป็นแบบสุ่ม ข้อทดสอบ 3 ข้อที่เป็นแบบสุ่ม และผู้ตรวจข้อสอบ 2 ประเภทที่เป็นแบบคงที่ คือผู้ที่มีประสบการณ์ตรวจข้อทดสอบที่ใช้ในการวิจัยโดยตรงและผู้ที่มีประสบการณ์ตรวจทางอ้อม จึงทำให้เอกภพของสิ่งสังเกตที่ยอมรับได้ (universe of admissible observations) มีขนาด 200 x 3 x 2 = 1,200 เงื่อนไข และเอกภาพของการอ้างอิงสรุป (universe of generalizability) ครั้งนี้มี 6 เงื่อนไข ผลของการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ ก. ด้านประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการอ้างอิงสรุปเพื่อการตรวจข้อทดสอบเรียงความ 1. ในกรณีที่กำหนดให้ผู้ตรวจข้อทดสอบทุกประเภท ตรวจข้อทดสอบทุกข้อของผู้สอบทุกคนหรือ [PxIxR] 1.1 เมื่อ R=fixed และ P,I = random ปรากฏว่า ผลการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบเรียงความของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ตรวจโดยตรง มีดัชนีความเชื่อถือโดยเฉลี่ยและสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปสูงกว่าผลการตรวจให้คะแนนของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญ 1.2 เมื่อ I, P, R = random ปรากฏว่าผลการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบเรียงความของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ตรวจโดยตรงมีดัชนีความเชื่อถือ โดยเฉลี่ยและสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปสูงกว่าผลการตรวจให้คะแนนของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ทางอ้าอมอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับข้อ 1.1 2. ในกรณีที่กำหนดให้ผู้ตรวจข้อทดสอบบางประเภทตรวจข้อทดสอบบางข้อของผู้สอบทุกคน หรือ [Px(R:I)] 2.1 เมื่อ R=fixed และ P,I = random ปรากฏว่าผลการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบเรียงความของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ตรวจโดยตรง มีดัชนีความเชื่อถือโดยเฉลี่ยและสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปสูงกว่าผลการตรวจให้คะแนนของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญ 2.2 เมื่อ I,P,R = random ปรากฏว่าผลการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบเรียงความของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์โดยตรง มีดัชนีความเชื่อถือโดยเฉลี่ยและสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปสูงกว่าผลการตรวจให้คะแนนของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกับข้อ 2.1 3. เมื่อกำหนดให้ผู้ตรวจบางประเภท ตรวจข้อทดสอบทุกข้อของผู้สอบบางคน หรือ [Ix(P:R)] 3.1 เมื่อ R=fixed และ P,I = random ปรากฏว่า ผลการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบเรียงความของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ตรวจโดยตรงมีดัชนีความเชื่อถือโดยเฉลี่ยเท่ากับค่าดังกล่าวของผลการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบเรียงความของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ตรวจทางอ้อมและมีสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ 3.2 เมื่อ I, P, R = random ปรากฏว่า ผลการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบเรียงความของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์โดยตรงมีดัชนีความเชื่อถือ โดยเฉลี่ยต่ำว่าค่าดังกล่าวของผลการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบเรียงความของผู้ตรวจที่มีประสบการณ์ทางอ้อมแต่มีสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุปสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจข้อสอบแบบเรียงความ คือ เงื่อนไขที่ 3.1 ข. ด้านการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งาน ปรากฏว่า โปรแกรมที่สร้างขึ้นสามารถคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การอ้างอิงสรุป และ ค่าดัชนีความเชื่อถือ สำหรับเงื่อนไขต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องเมื่อเปรียบเทียบกับค่าต่าง ๆ ดังกล่าว จากข้อมูลและผลลัพธ์ของการคำนวณจากหนังสือที่ใช้ในการอ้างอิง