Abstract:
วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้คือ 1) เพื่อวิเคราะห์หาความลำเอียงต่อเพศ และต่อภาคภูมิศาสตร์ของข้อทดสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. และ กขค. ปี พ.ศ. 2531-2533 3 วิธี คือ Delta Plot Method, Chi-square Method และ Three-parameter Logistic Method และ 2) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนข้อทดสอบที่ลำเอียงจากการวิเคราะห์ทั้ง 3 วิธี ประชากรของการวิจัยได้แก่ผู้สอบแบบทดสอบดังกล่าว จำนวน 6 กลุ่ม ๆ ละประมาณ 30,000 - 80,000 คน และแต่ละกลุ่มแบ่งตามเพศ และภาคภูมิศาสตร์ของผู้สอบ พลวิจัยได้จากการสุ่มตัวอย่างงานจากประชากรแต่ละกลุ่มโดยกำหนดให้แต่ละกลุ่มมีเพศชายและหญิงเท่ากัน และไม่เกิน 3,000 คน ทำให้ได้ผลวิจัยกลุ่มละ 424-3,000 คน ซึ่งมากกว่าขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เครื่องมือที่ใช้คือผลการสอบข้อทดสอบภาษาอังกฤษ ชุด กข. และ กขค. จำนวน 600 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติหลายอย่าง เช่น Classical Item Analysis, Logistic Item Analysis, ICC-test, Factor Analysis, Chi-square, Bias test และ F-test เป็นต้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบทดสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. ปี 2531-2533 มีความลำเอียงต่อเพศ โดยเฉลี่ยประมาณฉบับละ 7-28 ข้อ (ร้อยละ 7-28) ส่วนชุด กขค. มีความลำเอียงประมาณฉบับละ 4-41 ข้อ (ร้อยละ 4-41) แล้วแต่วิธีวิเคราะห์ 2. แบบทดสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. ปี 2531-2533 มีความลำเอียงต่อภาคภูมิศาสตร์โดยเฉลี่ยประมาณฉบับละ 6-45 ข้อ (ร้อยละ 6-45) ส่วนชุด กขค. มีความลำเอียงประมาณฉบับละ 5-43 ข้อ (ร้อยละ 5-43)แล้วแต่วิธีวิเคราะห์ 3. ข้อทดสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. และ กขค. ปี พ.ศ. 2531-2533 มีความลำเอียงต่อผู้สอบจากภาคอื่นมากกว่าภาคกลาง ประมาณ 2-3 เท่า และมีแนวโน้มว่ามีความลำเอียงต่อผู้สอบเพศชายมากกว่าเพศหญิง 4. การวิเคราะห์หาความลำเอียงของข้อทดสอบด้วย 3 วิธี พบข้อทดสอบที่ลำเอียงต่อเพศและต่อภาคภูมิศาสตร์ของผู้สอบจำนวนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่จำนวนข้อทดสอบที่ลำเอียงของแต่ละวิธีมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญ การวิเคราะห์โดยThree-parameter Logistic Method เมื่อไม่ได้วิเคราะห์ความลำเอียงระดับต่ำพบจำนวนข้อทดสอบที่ลำเอียงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ Chi-square Method และ Delta Plot Method พบข้อทดสอบที่ลำเอียงจำนวนน้อยที่สุด