Abstract:
ยาวาร์ฟารินเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินควรได้รับคำแนะนำและติดตามการใช้ยาใน
คลินิกวาร์ฟารินอย่างใกล้ชิด แต่เนื่องด้วยบุคลากรที่มีจำกัด ผู้ป่วยจึงไม่สามารถข้ารับคำปรึกษาในคลินิกวาร์
ฟารินได้ทุกราย ปัจจุบันใช้ค่า INR ในการติดตามและปรับขนาดยาวาร์ฟาริน แต่ค่า INR เพียงอย่างเดียวไม่
สามารถใช้ในการทำนายโอกาสการเกิดภาวะเลือดออกได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเกณฑ์คัดเข้าที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกจากยาวาร์ฟารินเพื่อเข้ารับ
คำปรึกษาในคลินิกวาร์ฟาริน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลผู้ป่วยของโรงพยาบาล
รามาธิบดี โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยนอกที่ได้รับการสั่งจ่ายยาวาร์ฟารินของโรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 7,993 คน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่มีข้อมูลจำนวนมาก จึงได้นำกระบวนการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกจากการใช้ยาวาร์ฟาริน โดยเริ่มจากการแปลงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้แก่ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา การเกิดอันตรกีริยาระหว่างยาวาร์ฟารีนกับยาอื่นที่ผู้ป่วยได้รับ รวมถึงโรคที่ส่งผลต่อระดับยาวาร์ฟาริน ค่าทางห้องปฏิบัติการ และภาวะเลือดออกโดยพิจารณาจากผลิตภัณฑ์เลือดที่ผู้ป่วยได้รับจากนั้นสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ด้วยวิธีป่าสุ่ม (Random forest) จากผลการศึกษาพบว่าตัวแปรที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกของผู้ป่วย ได้แก่ ตัวแปรดังต่อไปนี้ 1) Albumin 2) INR 3) Total protein 4) BUN 5) eGFR 6) Bilirubin ตามลำดับ ซึ่งสามารถนำตัวแปรเหล่านี้มาใช้ในการกำหนดเกณฑ์คัดเข้ารับคำปรึกษาในคลินิกวาร์ฟารินได้