dc.contributor.advisor |
จิตรา รู้กิจการพานิช |
|
dc.contributor.author |
นูรอัยณี ประเสริฐดำ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-09-22T23:29:07Z |
|
dc.date.available |
2021-09-22T23:29:07Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77131 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและควบคุมความก้าวหน้าของงานซ่อมในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรในงานสร้างถนน โดยได้มองแต่ละงานซ่อมเป็นแต่ละโครงการและมีการดำเนินโครงการตามหลักการบริหารโครงการ (Project Management) เครื่องมือสำคัญในการบริหารโครงการเป็นเครื่องมือในการบริหารความก้าวหน้าของโครงการ ได้แก่ วิธีการวิถีวิกฤต (Critical Path Method, CPM) แผนภูมิแกนต์ (Gantt Chart) และ S Curve โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยดังนี้ 1) รวบรวมอาการเสียและวิเคราะห์หาสาเหตุและกำหนดวิธีการซ่อมและเวลามาตรฐานของการซ่อม 2) วิเคราะห์กิจกรรมของการซ่อมโดยใช้ CPM 3) สร้างแผนภูมิแกนต์เพื่อแสดงแผนงานของแต่ละโครงการซ่อม 4) ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของแต่ละโครงการซ่อมโดยใช้ S-curve 5) หามาตรการหรือแผนเร่งรัดเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานของแต่ละโครงการซ่อม งานวิจัยนี้ได้ใช้ระบบฐานข้อมูลเพื่อความสะดวกในการสร้างแผนการซ่อม หลังจากหนึ่งปีของการปรับปรุงพบว่าประสิทธิภาพการบริหารงานซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้นโดยระบบหยุดทำงานลดลง เวลาหยุดทำงานของระบบโครงสร้าง (Body System) ลดลงจาก 75 วันเป็น 16 วัน คิดเป็น 78.67% เวลาหยุดทำงานของระบบเครื่องยนต์ (Engine System) ลดลงจาก 122 วันเป็น 54 วัน คิดเป็น 55.74% และเวลาหยุดทำงานของระบบช่วงล่าง (Suspension System) ลดลงจาก 30 วันเป็น 23 วัน คิดเป็น 23.33% เวลาหยุดทำงานของระบบส่งกำลัง (Transmission System) ลดลงจาก 30 วันเป็น 16 วัน คิดเป็น 46.67% เวลาหยุดทำงานของระบบไฮดรอลิก (Hydraulic System) ลดลงจาก 17 วันเป็น 13 วัน เป็น 23.53% เวลาหยุดทำงานของระบบไฟฟ้า (Electrical System) ลดลงจาก 20 วันเป็น 10 วัน เป็น 50% ตามลำดับ |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research was to apply the project management for repair planning and control, including monitoring the progress of repair work. In this study, main techniques were investigated, namely: Critical Path Method (CPM), Gantt Chart, and S-Curve. For the research methodology, the study was conducted with the following procedures: 1) collecting the data on failures and causes to determine the repair methods and standard time of repairs, 2) analyzing the repair activities with CPM, 3) creating Gantt charts to present a plan for each repair, 4) Conducting control and monitoring progress by S-curve, 5) if the repair was found to be delayed than planned, countermeasures were required to be following the repair plan. In this research, a database system was employed to facilitate the creation of repair plans. After one year of improvement, the results were evaluated, indicating that system downtime was reduced. The body system downtime was reduced from 75 days to 16,days (78.67%), the engine system downtime was reduced from 122 days to 54,days (55.74%), and the suspension system downtime was reduced from 30 days to 23,days (23.33%), the transmission system downtime reduced from 30 days to 16,days (46.67%), the hydraulic system downtime reduced from 17 days to 13,days (23.53%), the electrical system downtime reduced from 20 days to 10,days (50%), respectively. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1186 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
เครื่องจักรกล -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม |
|
dc.subject |
ถนน -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม |
|
dc.subject |
การบริหารโครงการ |
|
dc.subject |
Machinery -- Maintenance and repair |
|
dc.subject |
Roads -- Maintenance and repair |
|
dc.subject |
Project management |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรในงานก่อสร้างถนน
โดยใช้เทคนิคการบริหารโครงการ |
|
dc.title.alternative |
Enhancing machinery repair management in road construction using project management techniques |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมอุตสาหการ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2020.1186 |
|