Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้วิเคราะห์ค่าสนามไฟฟ้าในระบบสายส่ง 230 kV ที่ใช้งานในพื้นที่จำกัดโดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์. วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์คือ การคำนวณค่าสนามไฟฟ้าบริเวณขอบเขตเดินระบบโครงข่ายไฟฟ้าแบบ 2 มิติ, เเบบ 3 มิติ, และวิธีเงาประจุ. การคำนวณค่าสนามไฟฟ้าสูงสุด 3 เฟสที่อุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูงได้แก่ วงแหวนเกลี่ยสนามไฟฟ้า, วงแหวนโคนา, และฉนวนพอลิเมอร์. การเปลี่ยนเเปลงค่าพารามิเตอร์ของวงเเหวนเกลี่ยสนามไฟฟ้าได้แก่ รัศมีท่อวงแหวน (r), รัศมีของแหวน (R), และ ระยะห่างจากรอยต่อสามทาง (H) ถูกนำมาใช้ปรับปรุงค่าสนามไฟฟ้าสูงสุด. สนามไฟฟ้าบริเวณขอบเขตเดินระบบโครงข่ายไฟฟ้ามีค่าประมาณ 0.7 kVrms/m ณ ความสูง 1 m จากพื้นดิน. ค่าสนามไฟฟ้าต่ำกว่าเกณฑ์ของ กฟผ. ซึ่งระบุไว้ที่ 2 kVrms/m. ผลการคำนวณค่าสนามไฟฟ้าแสดงให้เห็นว่าสนามไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นที่เฟส B. สนามไฟฟ้าสูงสุดที่วงแหวนเกลี่ยสนามไฟฟ้า, วงแหวนโคโรนา, เเละฉนวนมีค่าเท่ากับ 13 kVp/cm 12 kVp/cm, และ 3 kVp/cm ตามลำดับ. สนามไฟฟ้าดังกล่าวมีค่าต่ำกว่าสนามไฟฟ้าวิกฤตในอากาศที่ 21 kVp/cm บนผิวตัวนำไฟฟ้า และ 6.4 kVp/cm บนผิวฉนวน. ผลการหาค่าที่เหมาะสมของพารามิเตอร์ได้ค่า r, R, เเละ H เท่ากับ 35 mm, 180 mm, และ 0.43 m ตามลำดับ. ค่าสนามไฟฟ้าลดลง 40 % เมื่อได้พารามิเตอร์ที่เหมาะสม. อย่างไรก็ตาม วงแหวนเกลี่ยสนามไฟฟ้าถูกวางใกล้กับกราวด์มากขึ้น. ระยะอาร์คระหว่างไฟฟ้าแรงสูงถึงกราวด์จะสั้นลงไปด้วยเมื่อ H ที่เพิ่มขึ้น.