DSpace Repository

ผลของส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุนทรี วัชรดำรงกุล
dc.contributor.author ธัญญวา คงเกต
dc.contributor.author ณภัทร ลัญฉประสิทธิ์
dc.contributor.author ณัฐสุรีย์ ดีสมบัติ
dc.date.accessioned 2021-09-29T08:00:23Z
dc.date.available 2021-09-29T08:00:23Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77358
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 en_US
dc.description.abstract วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของส่วนประสมทางการตลาด (4Ps ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา 3 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารทางการแพทย์ และเวชสำอาง วิธีการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลเดือนธันวาคม 2558 - มกราคม 2559 โดยใช้ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยเองและให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ซื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาจากร้านยาและอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และสามารถสื่อสารด้วย ภาษาไทย จำนวน 400 ราย อัตราการตอบกลับร้อยสะ 75.25 จากผู้ที่ตอบแบบสอบถามครบจำนวน 301 ราย ใช้ สถิติเชิงพรรณนา เช่น ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย: แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1 ลักษณะกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-35 ปี โสด การศึกษา ปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ย 15,00 1-35,000 บาท/เดือน 2) ร้านยาที่ใช้บริการเป็นประจำ คือ ร้านยาลูกโซ่ ความถี่ในการใช้บริการเฉลี่ย 3.06 :3.24 ครั้ง/เดือน ความถี่ในการซื้อเฉลี่ย 2.38+3.08 ครั้ง/เดือน และราคารวมที่ซื้อเฉลี่ย 5-1,000 บาท/ครั้ง 3) ข้อมูลการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา พบว่า ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มากที่สุด รองลงมา คือ เวชสำอางและอาหารทางการแพทย์ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เลือกซื้อมากที่สุด 4 อันดับแรก ได้แก่ วิตามินชี วิตามินรวม วิตามินบีรวมและคอลลาเจน เหตุผลส่วนใหญ่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เสริม อาหารและเวชสำอาง คือ มีประสบการณ์การใช้มาก่อนและซื้อไปใช้เอง ส่วนอาหารทางการแพทย์ที่เลือกซื้อมาก ที่สุด คือ อาหารสูตรครบถ้วน เนื่องจากมีประสบการณ์การใช้มาก่อนและซื้อไปให้ผู้อื่น และ 4) ส่วนประสมทาง การตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อ คือ มากที่สุดในด้านราคาที่คุ้มค่ากับคุณภาพ รองลงมา คือ ด้านผลิตภัณฑ์ (ประโยชน์และประสิทธิผล) ด้านสถานที่จัดจำหน่าย (สะดวกในการซื้อ คือ มีสินค้าที่ต้องการวางขายในร้านยา) และ ด้านส่งเสริมการตลาด (มีพนักงานคอยให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์) สรุป: การเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาเข้ามาจำหน่ายในร้านยาสำหรับผู้ประกอบการร้านยา ควรคำนึงถึงประโยชน์และ ประสิทธิผลของผลิตภัณฑ์ ความสะดวกที่จะหาซื้อได้ในร้านยา และการตั้งราคาให้คุ้มค่กับคุณภาพ ทั้งนี้ อาจเพิ่ม ยอดขายโดยการจัดให้มีพนักงานคอยให้ข้อมูล เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ และช่วยกระตุ้นการซื้อทั้งผู้บริโภคราย ใหม่และการเพิ่มปริมาณการซื้อของผู้บริโภคที่ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แล้ว en_US
dc.description.abstractalternative Objectives: To investigate impact of marketing-mix (4Ps) on consumer's buying decision making of non-medical products including dietary supplements, medical foods, and cosmeceuticals. Methods: This research was a descriptive study conducted in December, 2015 - January, 2016. A self-administered survey questionnaire was developed by researchers. A sample is of 400 drugstore customers resided in Bangkok, aged 18 and over with Thai literacy, had purchased non-medical products. Response rate was 75.25%, n= 301. Descriptive statistics (e.g., frequency, mean, and standard deviation) were used. Results: Four parts of findings were: 1) Demographics: Most respondents were female, aged 26-35 years old, single, bachelor degree, and working in a private company. Average income was 15,001- 35,000 THB/month/person. 2) Respondents mostly were chain store customers. On average, they visited 3.06t3.24 visits/month, and purchased non-medical products 2.38+3.08 times/month. They spent on non-medical products 5-1,000 THB/visit. 3) The most frequently purchased non-medical products were dietary supplements, cosmeceuticals, and medical foods, respectively. Four best selling dietary supplements were Vitamin C, Multivitamin, B-complex and Collagen. Purchased reasons of dietary supplements and cosmeceuticals were past experience and purchased for self- consumption. With regard to medical foods, complete nutrition was the best selling product because of past experience and purchased for others. Lastly, 4) Marketing-mix included price-quality relationship (Price), benefit and efficacy (Product), product availability (Place), and product consultant (Promotion). Conclusion: Selections of non-medical products for pharmacy owners should be based on product's benefits and efficiency, purchasing convenience, reasonable price with quality. Product consultants may enhance new customers' knowledge and buying decision making, and increase existing customers' buying quantity. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การตลาด en_US
dc.subject Marketing en_US
dc.subject ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร en_US
dc.subject โภชนบำบัด en_US
dc.title ผลของส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา en_US
dc.title.alternative Impact of marketing-mix on consumer's buying decision making of non-medical products en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.subject.keyword การตลาด en_US
dc.subject.keyword ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pharm - Senior projects [100]
    โครงการปริญญานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์

Show simple item record