dc.contributor.advisor |
สุชาดา สุขหร่อง |
|
dc.contributor.author |
นนทเลิศ เลิศนิติกุล |
|
dc.contributor.author |
ปุณญาดา จิตธรรม |
|
dc.contributor.author |
ลฎาภา ขันธ์คามโภชก์ |
|
dc.contributor.other |
คณะเภสัชศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2021-10-01T04:04:39Z |
|
dc.date.available |
2021-10-01T04:04:39Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77425 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการค้นพบและพัฒนายา
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 |
en_US |
dc.description.abstract |
กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum) เป็นกล้วยไม้ที่ยังไม่เคยมีการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและ
ฤทธิ์ทางชีวภาพมาก่อน คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพ
ของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีบางชนิด โดยงานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิค yeast cell-based assay ในการคัดกรองฤทธิ์
ความเป็นพิษต่อเซลล์และฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์โทโพไอซอเมอเรสชนิดที่ 1 ของกลัวยไม้สกุลรองเท้านารี 4 ชนิด
ได้แก่ รองเท้านารีขาวสตูล (Paphiopedilum niveum), รองเท้านารีเหลืองตรัง (P. godefroyae), รองเท้านารี
เหลืองกระบี่ (P. exul) และรองเท้านารีฝ่าหอย (P. bellatulum) พบว่าสารสกัดจากรากของรองเท้านารี
เหลืองตรังมีฤทธิ์ดีที่สุด จึงทำการแยกสารบริสุทธิ์ด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟิ โดยใช้ฤทธิ์ทางชีวภาพเป็นตัวชี้นำ
สามารถแยกสารบริสุทธิ์ได้ 10 ชนิด คือ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ชนิด ได้แก่ pinocembrin และสารกลุ่ม
สติลบีน 9 ชนิด ได้แก่ 2-(3',5'-dimethoxypheny!)-6-hydroxy-5-methoxybenzofuran, 2-[(E)-2-(3,5-
dimethoxyphenyl)-vinyl-phenol, 3'-hydroxy-2,5'-dimethoxystilbene, 2,3-dihydroxy-3',5'-
dimethoxystilbene, 5,6-dimethoxy-2-(3-hydroxy-5-methoxyphenyl)benzofuran, 2,3'-dihydroxy-
5'-methoxystilbene, 2-(5'-hydroxy-3'-methoxypheny)-6-hydroxy-5-methoxybenzofuran, 2,3'-
dihydroxy-5,5'-dimethoxystilbene และ 3,4'-dihydroxy-5-methoxystilbene โดยสารสติลบีน 2 ชนิด
คือ สาร 2-(3',5'-dimethoxypheny)-6-hydroxy-5-methoxybenzofuran และ 3'-hydroxy-2,5'-
dimethoxystilbene เป็นสารธรรมชาติชนิดใหม่ เมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ความเป็นพิษต่อ sall cell lung
cancer (NC1-H187) ของสารทั้ง 10 ชนิด พบว่าสารที่มีฤทธิ์แรงที่สุดคือ 5,6-dimethoxy-2(3-hydroxy-5-
methoxyphenyl) benzofuran มีค่า IC50 เท่ากับ 1.53 ม9/ml เมื่อเทียบกับสารควบคุมผลบวก ellipticine
และ doxorubicin ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 4.46 และ 0.07 ม9/m ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีสติลบีนอีก 5 ชนิด
ที่มีฤทธิ์แรง และอีก 2 ชนิดมีฤทธิ์ปานกลาง แสดงถึงศักยภาพของกล้วยไม้สกุลรองเท้านารีในการพัฒนาเป็นยา
ต้านมะเร็งต่อไปในอนาคต |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Previously, the chemical constituents and bioactivities of Paphiopedilum orchids had
never been studied. Our group is therefore interested in the research on the constituents and
biological activities of selected Paphiopedilum species. This research project has employed
yeast cell-based assay in the screening for cytotoxicity and topoisomerase I inhibitory activity
of four Paphiopedilum orchids including P. niveum, P. godefroyae, P. exul and P. bellatulum.
The extract from the roots of p. godefroyae, which exhibited the strongest activity,
was selected for the bioactivity-guided isolation of pure compounds through column
chromatographic technique. Ten compounds were isolated including a flavonoid, i.e.
pinocembrin, and nine stilbenes, i.e.2(3',5'-dimethoxyphenyl)-6-hydroxy-5-methoxy
benzofuran, 2-[(E)-2-(3,5-dimethoxyphenyl)-vinyl-phenol, 3'-hydroxy-2,5'-dimethoxystilbene,
2,3-dihydroxy-3',5'-dimethoxystilbene, 5,6-dimethoxy-2-(3-hydroxy-5-methoxypheny) benzo
furan, 2,3'-dihydroxy-5'-methoxystilbene, 2-(5'-hydroxy-3'-methoxypheny1)-6-hydroxy-5-
methoxybenzofuran,2,3'-dihydroxy-5,5'-dimethoxystilbene and 3,4'-dihydroxy-5-methoxy
stilbene. Two of these stilbenes, i.e. 2-(3',5'-dimethoxyphenyl)-6-hydroxy-5-methoxybenzo
furan and 3'-hydroxy-2,5'-dimethoxystilbene, are new natural compounds. All compounds
were assayed for their cytotoxicity toward small cell lung cancer (NCI-H187) cell line. 5,6-
dimethoxy-2-(3-hydroxy-5-methoxyphenyl) benzofuran displayed the strongest activity with an
IC50 value of 1.53 ug/ml, compared with ellipticine and doxorubicin as the positive controls
(IC50 values of 4.46 and 0.07 ug/ml, respectively). Our results indicate the potential of
Paphiopedilum orchids to be developed as anticancer agents in the future. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
กล้วยไม้ |
en_US |
dc.subject |
สารสกัดจากพืช |
en_US |
dc.title |
องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของกล้วยไม้รองเท้านารีบางชนิด |
en_US |
dc.title.alternative |
Chemical constituents and bioactivities of selected Paphiopedilum species |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
suchada.su@chula.ac.th |
|
dc.subject.keyword |
กล้วยไม้ |
en_US |
dc.subject.keyword |
กล้วยไม้รองเท้านารี |
en_US |