DSpace Repository

มาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัดให้พนักงาน ทำงานจากบ้าน (Work From Home) ในช่วงการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Show simple item record

dc.contributor.advisor วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์
dc.contributor.author สุภารัตน์ เอกจิตราอมร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2021-10-31T09:24:46Z
dc.date.available 2021-10-31T09:24:46Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77681
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 en_US
dc.description.abstract สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมานั้น ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งมีผลต่อสุขภาพ สังคม อีกทั้งยังส่งผล กระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศ ทำให้ทุกภาคส่วนต้องดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หนึ่งในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดที่ได้ผลดีคือ การขอความร่วมมือ ให้ข้าราชการ พนักงานของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) เพื่ อเป็นการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และช่วยชะลอการแพร่ระบาดไม่ให้จำนวนผู้ป่วยสูงจนเกินขีดความสามารถของระบบสาธารณสุข ในช่วงที่การฉีดวัคซีนยังไม่ทั่วถึงเพียงพอที่จะหยุดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ กรมสรรพากร ได้ออกมาตรการทางภาษีภายใต้หลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่ “เลื่อน เร่ง ลด และเพิ่มแรงจูงใจ” อย่างไรก็ตามมาตรการทางภาษีของประเทศไทย เป็นเพียงการบรรเทาภาระภาษี ลดภาระการจ่ายเงินค่าภาษี ของผู้ประกอบการ อันสืบเนื่องมาจากการได้รับผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมาตรการทางภาษีดังกล่าว ยังไม่มีมาตรการใด ที่จัดได้ว่า เป็นการสนับสนุน ส่งเสริมผู้ประกอบการจัดให้พนักงานในองค์กรของตนทำงานในรูปแบบ Work From Home และไม่มีมาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่ได้จัดให้มี การ Work From Home ดังกล่าว ดังนั้น รัฐบาลควรนำแนวคิดด้านหลักความเป็นกลาง และการแทรกแซงทางภาษีและแนวคิดเกี่ยวกับการบรรเทาภาระภาษีมาปรับใช้ เพื่อช่วยเหลือ ผู้ประกอบการด้านสภาพคล่อง การมีมาตรการทางภาษีที่จูงใจ ชัดเจน สามารถนำมาปฏิบัติได้ และเห็นผลเป็นรูปธรรม ย่อมได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากผู้ประกอบ ถือเป็นการส่งเสริมและ ปฏิบัติตามนโยบายของภาครัฐ จากการศึกษามาตรการทางภาษีของประเทศสหราชอาณาจักร พบว่ามาตรการทางภาษีบาง ประการสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้ คือ การสนับสนุนเครื่องพิมพ์เอกสารให้พนักงาน ทำงานจากที่บ้าน และการจ่ายเงินชดเชยสำหรับค่าใช้จ่ายภายในบ้านของพนักงานที่เพิ่มขึ้น จากการ Work From Home โดยบริษัทสามารถนำมาบันทึกเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เต็มจำนวน และหักจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล อีกทั้งไม่ถือเป็นเงินได้หรือประโยชน์ส่วนเพิ่ม สำหรับพนักงาน จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการขยาย ระยะเวลาการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ผู้ประกอบการ Work From Home ที่ขึ้นทะเบียน กับกรมสรรพากร และการขยายระยะเวลาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากผลขาดทุนสะสมยกมา ไม่เกิน 5 รอบบัญชี รวมถึงมาตรการเพิ่มสภาพคล่องโดยการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการ แบบ Work From Home เพื่อเป็นการจูงใจและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลดีกับ การแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ต่อไป en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.152
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษีเงินได้นิติบุคคล en_US
dc.subject สิทธิประโยชน์ทางภาษี en_US
dc.title มาตรการทางภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัดให้พนักงาน ทำงานจากบ้าน (Work From Home) ในช่วงการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.subject.keyword ไวรัสโคโรนา 2019 en_US
dc.subject.keyword work from home en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.152


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record