DSpace Repository

การเสนอขายสินค้าเลียนแบบในฐานะการกระทำทางการค้าอันไม่เป็นธรรม

Show simple item record

dc.contributor.author กัญจน์ศักดิ์ เพชรานนท์
dc.date.accessioned 2021-12-08T07:57:20Z
dc.date.available 2021-12-08T07:57:20Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77960
dc.description.abstract การเสนอขายสินค้าเลียนแบบเป็นการกระทำทางการค้าที่สามารถพบได้ในชีวิตประจาวัน ในหลายกรณีการกระทำทางการค้าดังกล่าวทำให้ผู้ซื้อถูกหลอกลวงในแหล่งที่มาของสินค้า ในบางกรณีการเสนอขายสินค้าเลียนแบบอาจเป็นการใช้ประโยชน์จากความนิยมของผู้ผลิตสินค้าต้นแบบอย่างไม่เหมาะสม หรือเป็นการทำลายความนิยมของสินค้าต้นแบบอย่างไม่เหมาะสม ในบางโอกาสการเสนอขายสินค้าเลียนแบบยังมีความเชื่อมโยงกับการได้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการผลิตสินค้าเลียนแบบมาโดยมิชอบอีกด้วย การเสนอขายสินค้าเลียนแบบในกรณีตามที่กล่าวมาเหล่านั้นล้วนแต่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ผลิตสินค้าต้นแบบทั้งสิ้น กระนั้นเอง การกระทำทางการค้าดังกล่าวอาจไม่ได้เข้าข่ายเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้วยเหตุผลบางประการ เช่น การหมดอายุความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของสินค้าต้นแบบ เป็นต้น จึงเป็นที่มาสู่ปัญหาว่า จะมีกลไกทางกฎหมายอื่นใดที่จะช่วยป้องกันและชดใช้ความเสียหายในกรณีดังกล่าวได้บ้างหรือไม่ วิจัยฉบับนี้เสนอว่า มาตรา 57 พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยการห้ามการกระทำทางการค้าอันไม่เป็นธรรมนั้น สามารถนำมาใช้ป้องกันการเสนอขายสินค้าเลียนแบบในพฤติการณ์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ ทั้งนี้ วิจัยฉบับนี้ ได้นำเสนอแนวทางในการปรับใช้มาตรา 57 พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 กับการกระทำทางการค้าดังกล่าว รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เพื่อให้สามารถต่อต้านการกระทำทางการค้าเช่นว่าได้อย่างเหมาะสม en_US
dc.description.abstractalternative Replica goods offering is a commercial practice which can be found in daily life. In many instances this commercial practice causes deception of purchasers regarding the commercial origin of goods. In certain cases it can unreasonably exploit or impair goodwill of original goods as well. Occasionally it associates with dishonest acquisition of the knowledge from original goods producers. Replica goods offering in aforementioned circumstances could cause damages to producers of original goods. Nonetheless, it may not be considered as infringement of intellectual property rights for particular reasons, e.g., expiration of intellectual property rights of original goods. This leads to the question whether there is any other law which could prevent and compensate for such damages. This research suggests that Section 57 of the Trade Competition Act B.E. 2560, which prohibits unfair commercial practices, can prevent replica goods offering in abovementioned circumstances. This research also proposes guidelines on the application of Section 57 of the Trade Competition Act B.E. 2560 to this commercial practice and recommendations on revision of the Trade Competition Act B.E. 2560 in order to prevent such commercial practice appropriately. en_US
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายแข่งขันทางการค้า en_US
dc.subject การกระทำทางการค้าอันไม่เป็นธรรม en_US
dc.title การเสนอขายสินค้าเลียนแบบในฐานะการกระทำทางการค้าอันไม่เป็นธรรม en_US
dc.title.alternative Replica Goods Offering as Unfair Commercial Practice en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Kansak.B@chula.ac.th
dc.subject.keyword สินค้าเลียนแบบ en_US
dc.subject.keyword การค้าที่ไม่เป็นธรรม en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record