DSpace Repository

การใช้การตรวจถ่ายภาพสมองโดยวิธีสเป็คในการบ่งชี้ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่ตอบสนองต่อยาต้านโคลีนเอสเตอเรสเพื่อลดค่าใช้จ่ายของประเทศ : รายงานการวิจัย (ร่าง)

Show simple item record

dc.contributor.author สุภัทรพร เทพมงคล
dc.contributor.author โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์
dc.contributor.author สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย
dc.contributor.author ยุทธชัย ลิขิตเจริญ
dc.contributor.author ชาวิท ตันวีระสกุลชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-02-26T01:52:27Z
dc.date.available 2022-02-26T01:52:27Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78101
dc.description.abstract ที่มาและเหตุผล: โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคเรื้อรังและพบมากขึ้นในยุคปัจจุบันที่คนไทยอายุยืนยาวขึ้น ยา Donepezil ซึ่งเป็นยากลุ่ม Choline Esterase inhibitor มีหลักฐานว่าช่วยทำให้ความสามารถของสมอง การช่วยเหลือตนเอง และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ที่เป็นน้อยหรือปานกลางดีขึ้น แต่เนื่องจากยานี้มีราคาแพงและพบว่ามีเพียง 55% ของผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อยา โครงการนี้จึงได้นำการตรวจถ่ายภาพทางรังสีชนิดสเป็คมาใช้เพื่อทำนายการตอบสนองต่อยา donepezil เพื่อคัดเลือกให้ยาแต่เฉพาะผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยา เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศในระบบสาธารณสุข วัตถุประสงค์ เพื่อนำการตรวจถ่ายภาพด้วยเครื่องรังสีแกมม่าชนิดหัววัดหมุนได้รอบตัวสเป็ค (SPECT) โดยการดูเลือดไปเลี้ยงสมองมาใช้เพื่อดูว่าจะสามารถช่วยทำนายการตอบสนองต่อยา Choline Esterase inhibitor (donepezil) ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้หรือไม่ วิธีการวิจัย คัดเลือกผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอัลไซเมอร์ความรุนแรงน้อยถึงปานกลางโดยใช้เกณฑ์วินิจฉัยของ NINCDS/ADRDA สำหรับ probable AD เข้ารับการตรวจถ่ายภาพสมองโดยวิธีสเป็คก่อนให้ยา, หลังให้ยา 4 ชั่วโมง, 15 วันและ 3 เดือน ผู้ป่วยจะได้รับยา donepezil 5 มก. ในเดือนแรกและเพิ่มเป็น 10 มก.ในเดือนที่ 2-6 ผู้ป่วยจะได้รับการทำแบบทดสอบทางจิตเวชเพื่อประเมินการทำงานของสมองในด้านต่าง ๆ ที่ก่อนให้ยาและหลังให้ยาที่ 3 และ 6 เดือน โดยผลการทดสอบทางจิตเวชที่ 6 เดือนจะเป็นตัวบ่งถึงการตอบสนองต่อยา จากนั้นจึงทการแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มที่ตอบสนองและไม่ตอบสนองแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูลสภาพสเป็คของผู้ป่วยแต่ละกลุ่มว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่และความแตกต่างที่พบได้เร็วที่สุดอยู่ ณ จุดเวลาใด ผลการวิจัย ขณะนี้มีผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัย 19 คน โดยมี 2 คนที่ออกจากการวิจัยก่อนกำหนด มีผู้ป่วยที่ครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือนแล้ว 12 รายได้ออกจากการวิจัย 2 ราย เหลือ 10 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ตอบสนองต่อยา donepezil 8 ราย ไม่ตอบสนอง 2 ราย ผลการวิเคราะห์สเป็คพบว่าที่ 4 ชั่วโมงหลังให้ยา donepezil พบการเพิ่มขึ้นของเลือดมาเลี้ยงสมองบริเวณ parietal lobe ทั้ง 2 ข้างในกลุ่มที่ตอบสนองต่อยา ส่วนกลุ่มที่ไม่ตอบสนอง (2 ราย) ยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอน เนื่องจากผู้ป่วยยังมีจำนวนน้อย สรุปผล การเพิ่มขึ้นของเลือดมาเลี้ยงสมองบริเวณ parietal lobe 2 ข้างที่ 4 ชั่วโมงหลังให้ยา ใช้ทำนายการตอบสนองต่อยาได้ ส่วนกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต้องรอเก็บผู้ป่วยให้มากขึ้นจึงสรุปได้ en_US
dc.description.abstractalternative Rationale: Alzheimer's disease (AD) is a chronic disease which is increasing nowadays due to increasing lifespan of Thai population. There are evidence that donepezil, a choline esterase inhibitor, can improve brain function and daily activity in mild to moderate AD patients. This study is to evaluate the role of brain perfusion SPECT in the evaluation of patient response to this drug, to see the earliest point that SPECT can predict drug response in order to save the cost of drug reimbursement for the nation. Purpose: To evaluate the earliest time point that SPECT can predict response to donepezil in AD Method: Mild to moderate degree AD patients with age more than 50 years old were recruited. SPECT studies were performed before, 4 hours, 15 days and 3 months after donepezil administration. Patients received 5 mg of donepezil in the first month, then 10 mg until 6 months. Psycholigical tests were performed at baseline, 3 months and 6 months after starting donepezil to evaluate change of brain function. Results of the tests at 6 months were used to identify drug responder. SPECTs were then classified as responder and nonresponder groups and were then analyzed to see the change and difference between both groups at each time point. Results: There were 19 patients recruited. Two patients were excluded due to incomplete study. Ten patients had complete follow up at 6 months. Among these ten patients, 8 were responders and 2 were non-responders. SPECT showed increased perfusion at bilateral parietal lobes on 4 hours post donepezil SPECT study in responders. Due to low number in non-responder group, further collection of more patients is needed. Conclusion: lncreased perfusion at bilateral parietal lobes at 4 hours post donepezil administration can be used as a predictor for donepezil response. However, further study with more patient number is needed to conclude the predictor of non-responder. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2558 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาวะสมองเสื่อม -- การรักษา en_US
dc.subject สมอง -- โรค -- การรักษา en_US
dc.subject โคลีนเอสเทอเรส -- สารยับยั้ง en_US
dc.title การใช้การตรวจถ่ายภาพสมองโดยวิธีสเป็คในการบ่งชี้ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่ตอบสนองต่อยาต้านโคลีนเอสเตอเรสเพื่อลดค่าใช้จ่ายของประเทศ : รายงานการวิจัย (ร่าง) en_US
dc.title.alternative Use of brain perfusion SPECT to determine responder to choline esterase inhibitor to reduce national therapeutic cost en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record