DSpace Repository

การเตรียมเส้นใยของพอลิแลคติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดที่มีสารปฏิชีวนะโดยการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิต

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรวรรณ พันธุมนาวิน
dc.contributor.author สุปรียา บุญศร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-03-03T02:12:57Z
dc.date.available 2022-03-03T02:12:57Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78142
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 en_US
dc.description.abstract การขึ้นรูปพอลิเมอร์ด้วยกระบวนการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิตแบบอิมัลชัน สามารถขึ้นรูปเส้นใยเพื่อใช้เป็นวัสดุปิดบาดแผล โดยพอลิแลคติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดและพอลิแลคติกแอซิดเป็นพอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพและมีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อ ในงานวิจัยนี้จึงสนใจนำพอลิแลคติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดและพอลิแลคติกแอซิดมาขึ้นรูปเส้นใยที่บรรจุยานีโอมัยซินด้วยเทคนิคการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิตแบบอิมัลชัน โดยศึกษาความเข้มข้นของพอลิเมอร์ ศักย์ไฟฟ้าที่ให้แก่ระบบ และอัตราการไหลของสารต่อการขึ้นรูปเส้นใย เส้นใยที่เตรียมได้นำไปพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด และศึกษาการปลดปล่อยของยาจากเส้นใยด้วยเทคนิคยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี จากผลการทดลองพบว่าพอลิแลคติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดไม่สามารถขึ้นรูปเส้นใยได้ ดังนั้นจึงใช้พอลิแลคติกแอซิดในการขึ้นรูปเส้นใย ได้ภาวะที่เหมาะสม คือ ความเข้มข้นของพอลิแลคติกแอซิด 6.5%wt ของสารละลาย ความเข้มข้นของนีโอมัยซิน 5%wt ของพอลิเมอร์ ความเข้มข้นของสแปน 80 10%wt ของพอลิเมอร์ ค่าศักย์ไฟฟ้า 22 kV ระยะห่างระหว่างปลายเข็มโลหะกับวัสดุรองรับคงที่ที่ 20 cm และอัตราการไหลของสาร 2.0 mL/h โดยเส้นใยที่เตรียมได้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 0.315±0.110 μm จากการศึกษาการปลดปล่อยของยานีโอมัยซินจากเส้นใยพอลิแลคติกแอซิด พบว่าที่ 5 นาทีแรกมีการปลดปล่อยยาแบบรวดเร็ว โดยมีเปอร์เซ็นต์การปลดปล่อยยานีโอมัยซินเท่ากับ 39.4% และที่เวลา 60 นาที มีเปอร์เซ็นต์การปลดปล่อยยานีโอมัยซินเท่ากับ 54.5% en_US
dc.description.abstractalternative The incorporation of fabricated neomycin fibers were prepared by emulsion electrospinning, which applied to wound dressing. Poly (lactic-co-glycolic acid) (PLGA) and Poly (lactic acid) (PLA) were biodegradable and biocompatible polymers. In this study, PLGA and PLA were prepared for neomycin incorporated fibers by emulsion electrospinning. The obtained fibers were characterized by Scanning electron microscope (SEM). The effects of concentration of polymer, voltage and flow rate were studied. UV-Visible spectroscopy was used for study of drug’s fibers releasing. The results showed that PLGA could not be fabricated into fibers, therefore PLA was chosen for this work. The optimum conditions for preparing fibers were concentration of PLA as 6.5%wt of solution, neomycin was 5%wt of polymer, span 80 was 5%wt of polymer with voltage was 22 kV, distance between needle and collector was 20 cm and flow rate was 2.0 mL/h. PLA fibers with entrapped neomycin were produced having a mean diameter of 0.315±0.110 μm. UV-Visible spectroscopy result showed that at the first 5 minutes with the release of a drug was burst release and a percentage neomycin release of 39.4% then release slowly. The amount of drug released within 60 minutes was 54.5% for PLA fibers. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การปั่นด้ายด้วยไฟฟ้าสถิต en_US
dc.subject กรดโพลิแล็กติก en_US
dc.subject วัสดุเชิงประกอบโพลิเมอร์ en_US
dc.subject Electrospinning en_US
dc.subject Polylactic acid en_US
dc.subject Polymeric composites en_US
dc.title การเตรียมเส้นใยของพอลิแลคติก-โค-ไกลโคลิกแอซิดที่มีสารปฏิชีวนะโดยการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิต en_US
dc.title.alternative Preparation of Antibiotics Incorporated Poly(Lactic-co-Glycolic Acid) Fibers by Electrospinning en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record