Abstract:
อนุพันธ์ของชิฟฟ์เบสเป็นอนุพันธ์ชนิดหนึ่งที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางในฐานะตัวเร่งปฏิริยาที่มี ประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้มุ่งสังเคราะห์อนุพันธ์ของสารเชิงซ้อนของคอปเปอร์(II) กับชิฟฟ์เบสที่มีหมู่แทนที่เป็นไทโอฟีน และไบไทโอฟีน และการเกิดปฏิกิริยาอิเล็กทรอพอลิเมอไรเซชันไปเป็นฟิล์มพอลิเมอร์บนแผ่นแก้วที่เคลือบด้วย indium tin oxide เพื่อการเร่งปฏิกิริยารีดักชันทางเคมีไฟฟ้าของคาร์บอนไดออกไซด์ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สามารถสังเคราะห์สารประกอบเป้าหมายออกมาได้โดยมีร้อยละผลได้ในแต่ละขั้นตอนอยู่ในช่วง 59 -89 อีกทั้ง สารประกอบเป้าหมายทั้งสองสามารถเกิดเป็นฟิล์มพอลิเมอร์ที่มีลักษณะเรียบและเสถียรได้จากระบบที่มีแผ่นแก้ว เคลือบ indium tin oxide แผ่นแพลทินัม เส้นลวดซิลเวอร์/ซิลเวอร์คลอไรด์ เป็นขั้วไฟฟ้าทางาน ขั้วไฟฟ้าช่วย และ ขั้วไฟฟ้าอ้างอิงแบบควอไซ ตามลำดับ ศักย์ไฟฟ้าที่เลือกใช้อยู่ในช่วง -200 ถึง 1300 มิลลิโวลต์ และ 0 ถึง 1500 มิลลิ โวลต์ สำหรับอนุพันธ์ที่มีไทโอฟีน และไบไทโอฟีนเป็นหมู่แทนที่ ตามลำดับ จึงถือว่าสารประกอบเป้าหมายทั้งสองนั้น เป็นสารที่มีความเป็นไปได้สำหรับการนำไปขึ้นรูปเป็นฟิล์มทางเคมีไฟฟ้า และสามารถนำไปใช้ในการศึกษาการทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยารีดักชันทางเคมีไฟฟ้าของคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไปได้