Abstract:
การตรวจวัดไอออนของโลหะและไอออนลบมีความสาคัญเนื่องจากไอออนเหล่านี้ เช่น ไซยาไนด์ไอออน หรือไอออนของปรอท สามารถปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และมีผลต่อระบบต่างๆของ ร่างกาย การตรวจวัดด้วยฟลูออเรสเซนต์จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากให้การ ตรวจวัดที่ง่าย และมีความว่องไวสูง งานวิจัยนี้จึงได้สังเคราะห์สารเรืองแสงในกลุ่มไดเอริลอีทีนที่มีสาร เรืองแสง (หมู่คูมาริน หรือไพรีน) ต่อกับ 4-nitrophenyl หรือ 2,4-dinitrophenyl เพื่อใช้เป็นตัว ตรวจวัดไซยาไนด์ไอออน เมื่อไซยาไนด์ไอออนเข้าทาปฏิกิริยาตาแหน่งพันธะคู่ จะเกิดผ่านนิวคลีโอฟิ ลิกแอดดิชัน ทาให้คอนจูเกชัน และการเรืองแสงเปลี่ยนแปลงไป แต่ผู้วิจัยพบว่าสารเรืองแสงที่ สังเคราะห์ไม่สามารถตรวจวัดไซยาไนด์ไอออนได้ อย่างไรก็ตาม ได้สังเกตพบโดยบังเอิญว่าการเรือง แสงของสารหมายเลข 2 มีการเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองต่อปริมาณของน้าในตัวทาละลายอินทรีย์ เมื่อ มีเปอร์เซ็นต์น้าในตัวทาละลาย THF เพียง 1-10% การเรืองแสงสีแดงซึ่งเกิดจาก การถ่ายโอนประจุ ภายในโมเลกุล (ICT) ที่ความยาวคลื่นในช่วง 550-750 nm จะลดลง เมื่อปริมาณน้ามากขึ้นการเรือง แสงจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการเรืองแสงของไพรีนที่ความยาวคลื่นในช่วง 360- 380 nm และที่ปริมาณน้าสูงมากจะเกิดพีคใหม่ขึ้นที่ความยาวคลื่นในช่วง 450-470 nm เนื่องจาก เกิด aggregation induced emission (AIE) ทาให้การเรืองแสงเปลี่ยนไปเป็นสีฟ้าสว่างหรือสีเขียว ดังนั้นจึงคาดว่าการเปลี่ยนแปลงการสารเรืองแสงของสาร 2 นี้สามารถนาไปใช้ประโยชน์ในการ ตรวจวัดปริมาณน้าในตัวทาละลายอินทรีย์ดังเช่น THF MeCN DMF หรือ DMSO ได้