Abstract:
กรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิกนิยมใช้เป็นสารกันบูดในอาหาร เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ที่เป็นสาเหตุ ทำให้อาหารเน่าเสีย โดยหากมีสารกันบูดอยู่ในอาหารมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้ พัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณกรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิก โดยทำการสกัดด้วยเทคนิคการสกัดระดับจุลภาคด้วยวัฏภาค ของแข็ง (SPME) และนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี (HPLC) โดยทำการเปรียบเทียบ ระหว่างการสกัดระดับจุลภาคด้วยวัฏภาคของแข็งแบบโดยตรง (DI-SPME) และการสกัดระดับจุลภาคด้วยวัฏภาคของแข็งแบบ เฮดสเปซ (HS-SPME) โดยใช้เส้นใยชนิดพอลิอะคริเลต (df=85 ไมโครเมตร) ทำการสกัด 40 นาที และทำการชะด้วย สารละลายผสมของเมทานอล-น้ำ (อัตราส่วน 40:60) ปริมาตร 1 มิลลิลิตร เป็นเวลา 5 นาที พบว่าการสกัดแบบ DI-SPME ที่ อุณหภูมิห้อง ให้ประสิทธิภาพสูงกว่าการสกัดแบบ HS-SPME ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส แต่การสกัดแบบ DI-SPME อาจ เกิดการรบกวนจากเมทริกซ์ในตัวอย่างมากกว่า จากนั้นทำการศึกษาปัจจัยต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดด้วย HS-SPME ได้แก่ ความเป็นกรด-เบสของสารละลายและการเติมเกลือ พบว่า การสกัดแบบ HS-SPME มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เมื่อให้สาร ตัวอย่างอยู่ในกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 0.05 โมลาร์ และเติมเกลือโซเดียมซัลเฟต 0.4 กรัมต่อมิลลิลิตร