Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างมิติสัมพันธ์การใช้ภาษา (Language Matrix) เพื่อการเรียนการสอน และการทดสอบภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศและเพื่อการสร้างแบบทดสอบสำหรับวัดความสามารถในการใช้ภาษาในแบบมหภาษา (Macro-Language) ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบเพื่อใช้เป็นเครื่องมือการวิจัย จำนวน1 ชุด เพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบด้านวัฒนธรรมและสังคม ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษา จำนวน 11 องค์ประกอบ ประชากรการวิจัยได้แก่ นิสิตระดับบัณฑิต และระดับบัณฑิตศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 360 คน ผลที่ได้จาการทดสอบนำมาหาค่าทางสถิติต่าง ๆโดยใช้โปรแกรม SPSS ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นชั้น ๆ การจัดกลุ่มทางสถิติแบบ Varimax rotated factor matrix และการหากลุ่มตัวทำนายความรู้ทางภาษาอานวัฒนธรรมและสังคม เพื่อสร้างสมการการทำนายความรู้ด้านวัฒนธรรมและสังคม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบทางวัฒนธรรมและสังคม ทั้ง 11 องค์ประกอบ มีความสำคัญมากในการสื่อความหมาย จึงเป็นสางจำเป็นที่ต้องนำมาพิจารณาในการเรียนการสอนและการทดสอบองค์ประกอบทั้ง 11 องค์ประกอบนี้ มีลำดับความสำคัญและความสามารถในการทำนายความรู้ทางด้านวัฒนธรรมและสังคมเกี่ยวกับภาษาต่างกัน ตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1. various communicative functions, 2. proper choice of words/sentences within certain situation, 3. holidays and celebrations, 4. distinguishing types of information, 5. tones, feelings, and attitudes, 6. daily pastime use, 7. association with places, 8. sources of information, 9. role relationship, 10. rhetorical device in literature 11. cultural specificity about names โดยเฉพาะองค์ประกอบในลำดับแรกนั้น มีความสามารถในการทำนายได้ถึงร้อยละ 46.7 องค์ประกอบ 8 องค์ประกอบแรก และองค์ประกอบที่ 10 ดังกล่าวนี้ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 กับองค์ประกอบทุกองค์ประกอบรวมกัน (.683 .314) ส่วนองค์ประกอบลำดับที่ 9 และลำดับที่ 11 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 กับองค์ประกอบทุกองค์ประกอบรวมกัน (r = 0.2117 และ r = 0.2385) ถ้าจะจัดกลุ่มองค์ประกอบทั้ง 11 นี้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามแบบ Varimax rotated factor matrix แล้วก็สามารถจัดออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน 2. ในการกำหนดมิติสัมพันธ์ของการทดสอบภาษานั้น นอกจากในด้านภาษาแล้ว ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น บทบาทและฐานะ ทัศนคติ และท่าทีของคู่สนทนา รูปแบบที่ใช้สื่อความหมาย ตลอดจนเรื่องราวเหตุการณ์ ฉากที่ใช้และกิจกรรมที่จะใช้ในการทดสอบด้วย 3. แบบทดสอบนี้ถือได้ว่า เป็นแบบทดสอบที่เข้ามาตรฐาน เนื่องจากมีค่าดัชนีความสอดคล้องในด้านเนื้อหาสูง .91 และมีความคงที่ t = 0.805 ในระดับ p = .05 และมีความคงที่นี้อยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่สอบทั้งสองครั้งเท่ากับ 0.418