DSpace Repository

การพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในกระชายด้วยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟีขแมสสเปกโทรตรี ร่วมกับเคโมเมทริกซ์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธรรมนูญ หนูจักร
dc.contributor.author พงศภัค ธนวนิชนาม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-03-14T03:03:35Z
dc.date.available 2022-03-14T03:03:35Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78216
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 en_US
dc.description.abstract ได้พิสูจน์ทราบเอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในกระชายด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี GC-MS) ร่วมกับเทคนิคเฮดสเปซโซลิดเฟสไมโครเอกซ์แทรกชัน (HS-SPME) โดยใช้แคปิลลารีคอลัมน์ประเภท HP-5MS ขนาด 30 m x 0.25 mm x 0.25 um จากการออกแบบการทดลองโดยการวิเคราะห์ทีละตัวแปร (Single factor optimization) ร่วมกับการออกแบบการทดลองชนิด central composite design (CCD) เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมตัวอย่างกระชายด้วย HS-SPME พบว่าสภาวะที่เหมาะสมของ HS-SPME คือ อุณหภูมิที่ใช้ในการสกัดเท่ากับ 40 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ใช้ในการสกัดเท่ากับ 30 นาที สำหรับตัวอย่างกระชายส่วนราก (rootlet) และ 70 องศาเซลเซียส 60 นาที สำหรับตัวอย่างกระชายส่วนเหง้า (rhizome) จากการพิสูจน์ทราบเอกลัษกษณ์ของสารระเหยง่ายในกระชายโดยเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล NISTO8 สามารถพิสูจน์ทราบเอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายได้ทั้งหมด 30 ชนิด โดยเมื่อใช้วิธีเคโมเมทริกซ์ชนิดการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) พบว่าสามารถจำแนกกลุ่มของกระชายที่มาจากแหล่งเพาะปลูกที่แตกต่างกันได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ จังหวัดนครปฐม พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และระนอง ด้วยรูปแบบ PCA ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงบ่งชี้ได้ว่าสามารถใช้วิธี HS-SPME-GC-MS ร่วมกับวิธีเคโมเมทริกซ์ในการพิสูจน์ทราบกระชายที่มาจากแหล่งเพาะปลูกที่แตกต่างกันได้ en_US
dc.description.abstractalternative Volatile compounds in fingerroot were identified by gas chromatographymass spectrometry (GC- MS) combined with headspace solid phase microextraction (HS-SPME) using a capillary column of HP-5MS (30 m × 0.25 mm × 0. 25 μm) . Using an experimental design called single factor optimaization combined with central composite design, the following optimal HS- SPME conditions were obtained: extraction temperature of 40 °C and extraction time of 30 minutes for rootlet, but 70 °C and 60 minutes for rhizome. Thirty volatile compounds were identified by comparing their mass spectra with those in the NIST08 database. Using principal components analysis (PCA), the fingerroot could be classified into four groups with different patterns of PCA, in consistent with their geographical origins: Nakhon Pathom, Phitsanulok, Phetchabun and Ranong. This indicates that HS- SPME-GC-MS combined with chemometrics can be used for identification of the volatile compounds in the fingerroot from different geographical origins. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สารประกอบอินทรีย์ระเหย en_US
dc.subject แกสโครมาโตกราฟี en_US
dc.subject แมสสเปกโทรเมตรี en_US
dc.subject Volatile organic compounds en_US
dc.subject Gas chromatography en_US
dc.subject Mass spectrometry en_US
dc.title การพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในกระชายด้วยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟีขแมสสเปกโทรตรี ร่วมกับเคโมเมทริกซ์ en_US
dc.title.alternative Characterization of Volatile Compounds in Fingerroot by Gas Chromatography-Mass Spectrometry Combined with Chemometrics en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record