Abstract:
การศึกษาวัสดุจำพวกผลึกในระดับไมโครเมตร 1 – 500 ไมโครเมตร จะใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง โพลาไรซ์ที่มีกำลังขยาย 10 – 1000 เท่าเป็นเครื่องมือ โดยในงานวิจัยนี้ได้ทำการพัฒนากล้องจุลทรรศน์แบบ โพลาไรซ์เพื่อใช้งานร่วมกับสมาร์ตโฟน ใช้หลอดไฟแอลอีดีเป็นแหล่งกำเนิดแสง เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นสามารถ ถ่ายภาพในแบบแสงผ่านปกติ แสงโพลาไรซ์ สามารถวาง และหมุนผลึกตัวอย่างได้ทุกขนาด (เกลือแกงขนาดเล็ก จนถึงเพชรพลอยขนาดใหญ่) ผลึกชนิดต่าง ๆ เช่น โซเดียมคลอไรด์ แมกนีเซียมซัลเฟต ซิลเวอร์อะซิเตต เป็นต้น ซึ่ง ข้อมูลรูปภาพที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์โพลาไรซ์ที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพใกล้เคียงกับข้อมูลภาพถ่ายจากกล้อง จุลทรรศน์โพลาไรซ์ระดับห้องปฏิบัติการ สามารถวิเคราะห์ลักษณะของผลึกชนิดต่าง ๆ รวมถึงศึกษาการบิดระนาบ แสง คุณสมบัติแอนไอโซโทรปิก และไบรีฟริงเจนของผลึกได้เหมือนกับเครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทุกประการ ทำให้อุปกรณ์ตัวนี้มีศักยภาพในการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ลดต้นทุนทางการศึกษา และสร้างเทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าของประเทศในอนาคต