Abstract:
ได้ศึกษาปฏิกิริยาโบรมิเนชันของแอลเคนที่เร่งปฏิกิริยาด้วย bis(picolinato) oxovanadium(IV) และ tert-butyl hydroperoxide (TBHP) ภายใต้ภาวะที่ไม่รุนแรง ได้ศึกษาปัจจัยสี่ข้อสำหรับภาวะที่เหมาะสมต่อการส่งผลต่อการเกิดแอลคิลโบรไมด์ ได้แก่ ชนิดโบรมิเนทิงเอเจนต์ ปริมาณโบรมิเนทิงเอเจนต์ ชนิดตัวทำละลายและปริมาณตัวออกซิไดซ์ ภาวะที่เหมาะสมที่สุดคือ ใช้ cyclododecane 1 mmol เป็นสารตั้งต้นตัวอย่าง, เฮกซะโบรโมแอซีโทน (HBA) 1 mmol เป็นโบรมิเนทิงเอเจนต์, TBHP 10 mmol ใน acetonitrile เป็นเวลา 6 ชั่วโมง พบว่าค่าครึ่งชีวิตของการเกิดแอลคิลโบรไมด์เท่ากับ 34.2 นาที ได้เลือกแอลเคนหลายชนิด ได้แก่ adamantane, ethylbenzene, dodecane, acetophenone, 2,4-dimethylpentane และ isooctane มาศึกษารายละเอียดของปฏิกิริยานี้ พบว่า พันธะ 3° C-H ถูกกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาได้ดีกว่า 2° C-H และ 1° C-H ตามลำดับ การศึกษาการเลือกจำเพาะทางเคมีบ่งบอกว่า แอลคิลโบรไมด์เกิดผ่านสารตัวกลางที่เกิดจากแอลเคน ไม่ใช่จากการเปลี่ยนรูปของแอลกอฮอล์