dc.contributor.advisor |
อภิชาติ อิ่มยิ้ม |
|
dc.contributor.author |
สิรามล มีมุสิทธิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-03-14T06:49:28Z |
|
dc.date.available |
2022-03-14T06:49:28Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78223 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
en_US |
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการสังเคราะห์อนุภาคระดับไมโครเมตรของซิลิกาจากเถ้าแกลบข้าวและดัดแปรผิวด้วยกรดฮิวมิก ซิลิกาเตรียมได้จากการนำเถ้าแกลบข้าวมาละลายและตกตะกอนด้วยกระบวนการโซลเจลในสองรูปแบบ คือ สกัดด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 2.5 โมลต่อลิตร และสกัดด้วยสารละลายไฮโดรคลอริกที่ความเข้มข้น 1.5 โมลต่อลิตร ก่อนที่จะทำการสกัดด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 2.5 โมลต่อลิตร เพื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความบริสุทธิ์ของซิลิกาจากเถ้าแกลบข้าวที่สังเคราะห์ผ่านทั้งสองวิธี จากการวิเคราะห์สารตัวอย่างที่สังเคราะห์ได้ด้วยเทคนิคฟูเรียทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FTIR) พบพันธะในกลุ่มซิลินอลและกลุ่มไซโลเซน และจากการวิเคราะห์โครงสร้างผลึกด้วยเทคนิคเอกซเรย์ดิฟแฟรกชัน (XRD) พบพีคที่วางที่ตำแหน่ง 20 เท่ากับ 22-23 ปรากฏเฟสที่เป็นอสัณฐาน จึงสามารถยืนยันเฟสและโครงสร้างที่แท้จริงของซิลิกาได้ เมื่อทำการเปรียบเทียบซิลิกาที่สังเคราะห์ได้จากสองวิธี พบว่าการสกัดเถ้าแกลบข้าวด้วยสารละลายไฮโดรคลอริกก่อนที่จะทำการสกัดด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ให้ซิลิกาที่มีประสิทธิภาพดีกว่าการสกัดด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เพียงอย่างเดียว ผลการทดลองจากเทคนิคเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนซ์ (SRF) พบว่า การสกัดเถ้าแกลบข้าวด้วยสารละลายไฮโดรคลอริกก่อนที่จะทำการสกัดด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ให้ซิลิกาที่มีความบริสุทธิ์สูงกว่า จากปริมาณซิลิการ้อยละ 93.8 และ 79.0 ตามลำดับ ภาพถ่ายจากเทคนิคการใช้กล้องจุลทรรษน์แบบส่องกราด (SEM) และเทคนิคการวัดการกระจายตัวของขนาดอนุภาคด้วยแสงเลเซอร์ (PSD) พบว่าพื้นผิวค่อนข้างเรียบ รูปร่างค่อนข้างกลม เล็ก มีการเกาะเป็นกลุ่มและมีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 7 และ 9 ไมโครเมตร ตามลำดับ พื้นที่ผิวจำเพาะเท่ากับ 775 และ 660 ตารางเมตรต่อกรัม ตามลำดับ และนำซิลิกาที่สังเคราะห์ได้มาดัดแปรพื้นผิวโดยการเคลือบด้วยกรดฮิวมิก พิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิคฟูเรียทรานฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FTIR) พบว่าซิลิกาที่สังเคราะห์จากเถ้าแกลบข้าวสามารถดัดแปรพื้นผิวโดยการเคลือบด้วยกรดฮิวมิกได้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to synthesize silica microparticles from rice husk ash and modify its surface with humic acids. Silica was obtained by dissolution and thermal precipitation of rice husk ash using the sol-gel method via two approaches. Method I: the rice husk ash was refluxed with 2.5 M NaOH and Method II: the rice husk ash was refluxed with 1.5 M HCl before being refluxed with 2.5 M NaOH. The efficiency and purity of silica were compared. Fourier transform infrared spectral data showed the presence of hydrogen bonded silinol and siloxane groups in silica. X-ray diffraction pattern showed that the obtained products were amorphous silica. Silica that obtained by the method II has higher efficiency and purity than silica that obtained by the method I. The purity of the synthesized silica was 93.8 and 79.0 % respectively using X-Ray fluorescence spectroscopy. The imaging by SEM and particle size distribution determined by PSD showed that the synthesized silica was in the agglomerate form which dimension of 7 and 9 μm. The specific surface area was found to be 775 and 660 m²/g, respectively. And the synthesized silica was modified with humic acids and characterized by Fourier transform infrared spectroscopy. The results showed that humic acids could be successfully coated on silica surface. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
กรดฮิวมิค |
en_US |
dc.subject |
เถ้าแกลบ |
en_US |
dc.subject |
ซิลิกา |
en_US |
dc.subject |
Humic acid |
en_US |
dc.subject |
Rice hull ash |
en_US |
dc.subject |
Silica |
en_US |
dc.title |
การสังเคราะห์อนุภาคระดับไมโครเมตรของซิลิกาจากเถ้าแกลบข้าวและดัดแปรผิวด้วยกรดฮิวมิก |
en_US |
dc.title.alternative |
Synthesis of silica microparticles from rice husk ash and surface modification with humic acids |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|