dc.contributor.advisor |
ธนิษฐ์ ปราณีนรารัตน์ |
|
dc.contributor.author |
สุรเศรษฐ์ สุรฤทธิ์เดชาชัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-03-14T08:17:52Z |
|
dc.date.available |
2022-03-14T08:17:52Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78229 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 |
en_US |
dc.description.abstract |
ปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียบนวัสดุในชีวิตประจำวัน จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากปัญหาการดื้อยาที่รุนแรง ทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้นมาตรการป้องกัน เช่น การพัฒนาพื้นผิววัสดุให้มีสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียจึงจัดเป็นมาตรการสำคัญรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหานี้ลงได้ ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ทดลองดัดแปรผิวของเหล็กกล้าไร้สนิมซึ่งเป็นวัสดุที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน ให้มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย โดยอาศัยปฏิกิริยาการเคลือบและพอลิเมอไรเซชันของพอลิโดพามีนบนพื้นผิวเหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งจะทำให้พื้นผิวมีหมู่ฟังก์ชันอินทรีย์ที่เหมาะสมแก่การตรึงสารประกอบอินทรีย์อื่น โดยผู้วิจัยได้ศึกษาการตรึงสารประกอบ 4,7,10-trioxa-1,13-tridecanediamine (TTD) และอนุพันธ์ของ TTD ที่มีหมู่ปกป้อง Boc (TTDBoc) ลงบนพื้นผิวด้วยวิธีทางเคมี จากนั้นได้พิสูจน์การตรึงสารบนผิวโดยใช้เทคนิคการวัดมุมสัมผัสน้ำและเทคนิค ATR-FTIR spectroscopy และทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของวัสดุดัดแปรกับเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli ผลการทดลองพบว่า แม้การตรึงสารประกอบน่าจะเกิดได้จริง แต่วัสดุดัดแปรที่ได้ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองที่ได้สามารถเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด หรือนำไปทดสอบกับเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นที่มีสมบัติแตกต่างกันต่อไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Bacterial contamination on surfaces is considered as a serious issue in the public health due to the high rate of drug resistance, leading to much difficulty for treatments. Therefore, prevention measures such as the development of antibacterial surfaces are essential to solve this problem. In this project, the researcher modified the surface of a stainless steel, an important surface in everyday life, and made it antibacterial by in situ coating and polymerization of dopamine. This created organic functional groups on the surface and allowed the attachment of organic molecules. Thereafter, 4,7,10-trioxa-1,13-tridecanediamine (TTD) and its Boc-protected derivative (TTDBoc) were chemically immobilized onto the surface. These modifications were then confirmed by water contact angle measurement and ATR-FTIR spectroscopy. The antibacterial activity was tested against Staphylococcus aureus and Escherichia coli. The results indicated that the immobilizations were likely to be successful although there was no antibacterial activity. Nevertheless, the results could be used for further development and more testing on other bacterial species with different properties may lead to interesting results. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
สารต้านแบคทีเรีย |
en_US |
dc.subject |
เหล็กกล้า |
en_US |
dc.subject |
สารประกอบอะมิโน |
en_US |
dc.subject |
Antibacterial agents |
en_US |
dc.subject |
Steel |
en_US |
dc.subject |
Amino compounds |
en_US |
dc.title |
การผลิตเหล็กกล้าที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยการตรึงสารประกอบที่มีหมู่อะมิโนอย่างถาวร |
en_US |
dc.title.alternative |
Fabrication of antibacterial stainless steel based on chemical immobilization of amino-containing scaffolds |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |