DSpace Repository

การพัฒนาวิธีการสกัดสาร polyphenolics และ caffeine จากกากกาแฟเพื่อประยุกต์ใน บรรจุภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราสำหรับผลิตผลทางการเกษตร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ลักษณา ดูบาส
dc.contributor.author วรรณิดา ทรัพย์เย็น
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-03-15T01:02:30Z
dc.date.available 2022-03-15T01:02:30Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78236
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 en_US
dc.description.abstract โครงการนี้มุ่งที่จะพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตผลทางการเกษตรที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา โดยใช้สารสกัดหยาบจากกากกาแฟ ซึ่งเป็นของเหลือทิ้ง โดยในโครงการนี้ใช้วิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายควบคู่กับการเขย่าด้วยเครื่อง Overhead mixer และศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากกากกาแฟในการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ซี่งทำให้เกิดจุดดำ หรือ โรคแอนแทรคโนสบนผลไม้ จากการศึกษาพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการสกัดกากกาแฟ คือ ตัวทำละลายผสมเอทิลแอลกอฮอล์และน้ำที่อัตราส่วน 1:1 โดยมีอัตราส่วนของกากกาแฟต่อตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดเท่ากับ 1:5 กรัมต่อมิลลิลิตร และพบว่าอัตราเร็วของการเขย่าที่เหมาะสมเท่ากับ 30 รอบต่อนาที โดยระยะเวลาในการสกัดที่ให้ปริมาณสารประกอบฟีนอลและกาเฟอีนสูงที่สุด คือ 5 ชั่วโมง และจากการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราของสารสกัดหยาบจากกากกาแฟที่ความเข้มข้นต่าง ๆ พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้น 50, 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ และมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 6.97 ± 2.43, 13.03 ± 2.94 และ 22.78 ± 7.92 ตามลำดับ en_US
dc.description.abstractalternative This project intends to develop antifungal packaging for agricultural products by using spent coffee ground extracts, which is a waste from coffee brewing process. The solvent extraction method with agitation by Overhead mixer was used in this study. The fungus Colletotrichum gloeosporioides that can cause dark spots or Anthracnose disease on fruit was used in the antifungal activity study of spent coffee ground extracts. The results showed that the optimum condition of spent coffee ground extraction was the solvent mixture of ethanol and water with a ratio of 1:1, and the spent coffee ground-to-solvent ratio of 1:5 g/mL. The optimized speed of agitation was at 30 revolutions per minute. The extraction time which gave the highest amount of polyphenolics and caffeine was 5 hours. In order to investigate the relationship between antifungal activity and the concentration of spent coffee ground extracts, various concentrations of the extracts were prepared. It was found that spent coffee ground extracts at concentrations of 50, 100, and 200 mg/mL could inhibit the growth of C. gloeosporioides at 6.97 ± 2.43%, 13.03 ± 2.94%, and 22.78 ± 7.92%, respectively. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject บรรจุภัณฑ์ en_US
dc.subject สารต้านเชื้อรา en_US
dc.subject คาเฟอีน en_US
dc.subject Caffeine en_US
dc.subject Containers en_US
dc.subject Antifungal agents en_US
dc.title การพัฒนาวิธีการสกัดสาร polyphenolics และ caffeine จากกากกาแฟเพื่อประยุกต์ใน บรรจุภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราสำหรับผลิตผลทางการเกษตร en_US
dc.title.alternative Development of polyphenolics and caffeine extraction method from spent coffee ground to apply in antifungal agricultural production packaging en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record