Abstract:
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับสองที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตและความพิการทั่วโลก วิธีการ หนึ่งในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คือ การยับยั้งการทางานของแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติงเอนไซม์ ใน ปัจจุบันมียารักษาโรคความดันโลหิตสูงที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทางานของ แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติงเอนไซม์ อยู่ หลายตัวซึ่งแต่ละตัวก็จะมีประสิทธิภาพในการใช้งานไม่เท่ากัน งานวิจัยนี้จึงศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลโครงสร้าง เกี่ยวกับรูปแบบการเข้าจับและอันตรกิริยาระหว่างยาที่เป็นสารยับยั้งเหล่านี้จำนวน 24 ตัว กับ แองจิโอเทนซิน- คอนเวอร์ติงเอนไซม์ โดยใช้เทคนิคการคำนวณการเข้าจับเชิงโมเลกุล ผลการคำนวณพบว่า ลักษณะการเข้าจับ ของตัวยับยั้งทุกตัวในตัวรับชนิดเดียวกันจะมีความใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันที่ตำแหน่งการเกิดพันธะกับกรดอะมิโน บางกลุ่ม อันได้แก่ ALA1, SEP284 และ GLU 411 และในตัวรับที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำงานสูงจะเกิดพันธะ ไฮโดรเจนกับ HE22-GLY281, OE2-GLU376 และ HZ3-LYS511 และมีค่า IC₅₀ ต่ำดังนั้นจึงทำให้เห็นว่า Utibapril เป็นยาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งงานวิจัยนี้จะช่วยให้เข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ ได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงจะเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าพัฒนายารักษาโรคตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น