dc.contributor.advisor |
อรวรรณ ชัยลภากุล |
|
dc.contributor.advisor |
เจนจิรา ปานชมพู |
|
dc.contributor.author |
นราธร นิทรัพย์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-03-16T01:40:26Z |
|
dc.date.available |
2022-03-16T01:40:26Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78271 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 |
en_US |
dc.description.abstract |
อุปกรณ์วิเคราะห์เชิงสีฐานกระดาษที่มีราคาถูก ใช้งานง่าย และมีความไวสำหรับการตรวจวัด ปริมาณน้ำในน้ำมันเชิงเพลิงสำหรับเครื่องบินได้รับการพัฒนาขึ้นโดยใช้อะลิซาริน เรด เอส เป็นรีเอเจนต์ สำหรับปฏิกิริยาการเกิดสี การดีโปรโตเนตของอะลิซาริน เรด เอส เกิดจากการใช้ฟลูออไรด์ไอออน ผ่าน ปฏิกิริยากรด-เบสของเบรินสเตด-ลาวรี เมื่อมีน้ำในน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน อะลิซาริน เรด เอส ใน รูปโครงสร้างดีโปรโตเนตจะถูกรีโปรโตเนตกลับมาสู่โครงสร้างเดิมอีกครั้ง ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี จากสีม่วงเป็นสีเหลือง การเปลี่ยนแปลงสีดังกล่าวสามารถสังเกตเห็นอย่างชัดเจนได้ด้วยตาเปล่า ปัจจัยที่ ส่งผลต่อความไวของอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ ความเข้มข้นของอะลิซาริน เรด เอส ในรูปโครงสร้างดีโปรโตเนต (สีม่วง) สัดส่วนความเข้มข้นระหว่างฟลูออไรด์ไอออนและอะลิซาริน เรด เอส ใน รูปโครงสร้างโปรโตเนต (สีเหลือง) เวลาในการเกิดปฏิกิริยา และตัวรบกวนการวิเคราะห์ ทั้งนี้ภายใต้สภาวะ การทดลองที่เหมาะสม ปริมาณน้ำในน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินต่ำที่สุดที่สามารถตรวจวัดได้คือ 1.2 ไมโครลิตรในน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน 40 มิลลิลิตร หรือ 30 ส่วนในล้านส่วน การตรวจวัดเชิงสีนี้มี จุดเด่น คือ ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว และมีเสถียรภาพสูง นอกจากนี้ความชื้นในอากาศยังไม่ส่งผลรบกวน การเปลี่ยนแปลงสีอีกด้วย แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ ทางเลือกสำหรับการตรวจวัดปริมาณน้ำในน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน ภาคสนามได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
A low-cost, simple and sensitive colorimetric paper-based analytical device for the determination of water in aviation fuel was developed using Alizarin Red S as the colorimetric reagent. Deprotonation of Alizarin Red S was obtained using fluoride ion from Brønsted- Lowry acid–base-type reaction. In the presence of water in aviation fuel, the deprotonated form of Alizarin Red S was reprotonated by water resulting in the change of color from purple to yellow. This color change can be easily observed by the naked eye. The influences of experimental variables on the sensitivity of the proposed sensor, such as the concentration of Alizarin Red S (deprotonated form, purple color), the ratio of concentration between fluoride ion and Alizarin Red S (protonated form, yellow color), the reaction time and interferences, were investigated. Under optimized conditions, the lowest water content in the real sample that can be detected is 1.2 μL/40 mL or 30 ppm. This colorimetric assay shows the advantages of rapid response and high stability. In addition, moisture in the air does not interfere color change. It demonstrates that the developed device can be used as an alternative tool for water detection in aviation fuel sample and can also be applied in fieldwork effectively. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
น้ำมันเชื้อเพลิง |
en_US |
dc.subject |
เครื่องบิน -- เชื้อเพลิง |
en_US |
dc.subject |
การวิเคราะห์โดยการวัดสี |
en_US |
dc.subject |
Petroleum as fuel |
en_US |
dc.subject |
Airplanes -- Fuel |
en_US |
dc.subject |
Colorimetric analysis |
en_US |
dc.title |
การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษด้วยเทคนิคเชิงสีเพื่อการตรวจวัดปริมาณน้ำในน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน |
en_US |
dc.title.alternative |
Development of paper-based analytical device for colorimetric determination of water in aviation fuel |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |