dc.contributor.advisor |
อัมพร วิเวกแว่ว |
|
dc.contributor.author |
กฤตธี เปี่ยมสง่า |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-04-07T03:20:03Z |
|
dc.date.available |
2022-04-07T03:20:03Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78364 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
en_US |
dc.description.abstract |
การผสมข้ามสายพันธุ์ คือการผสมพันธุ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีความใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการและมีกลไกแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์ไม่สมบูรณ์ ซึ่งลูกผสมที่เกิดขึ้นอาจเป็นตัวกลางในการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างประชากรของสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดได้ การศึกษาเกี่ยวกับการผสมข้ามสายพันธุ์ในสัตว์ปีก โดยเฉพาะในกลุ่มนกน้ำที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์นั้นพบได้ค่อนข้างจำกัด การศึกษาก่อนหน้าพบการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างนกกาบบัวและนกกระสาปากเหลืองในสภาพกรงเลี้ยงในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงสนใจใช้เทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลมาตรวจสอบการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างนกทั้งสองชนิดนี้ในประเทศไทย โดยเก็บตัวอย่างเลือดของนกกาบบัวจำนวน 174 ตัว จากสวนสัตว์ดุสิต กรุงเทพมหานคร และนกกระสาปากเหลืองจำนวน 49 ตัว จากสวนสัตว์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นสกัดดีเอ็นจากตัวอย่างเลือดที่เก็บมาทั้งหมด เพิ่มปริมาณนิวเคลียร์ดีเอ็นเอด้วยเทคนิค Random Amplified Polymorphic DNA (RAPD) โดยใช้ไพรเมอร์ LR7 และวิเคราะห์ผลลายพิมพ์ดีเอ็นเอของทุกตัวอย่างด้วยวิธี gel electrophoresis และ genotyping ผลการศึกษาพบอัลลีลจำนวน 122 และ 115 อัลลีล ในจีโนมของนกกาบบัวและนกกระสาปากเหลือง ตามลำดับ และพบอัลลีลที่มีความจำเพาะและสามารถใช้ระบุชนิดของนกกระสาปากเหลืองได้จำนวน 2 อัลลีล ได้แก่ อัลลีลที่มีขนาด 1055 และ 1077 คู่เบส และเมื่อตรวจสอบอัลลีลทั้งหมดในกลุ่มของนก intermediate ที่มีลักษณะคล้ายนกกาบบัว ก็พบอัลลีลที่จำเพาะต่อนกกระสาปากเหลืองในจีโนมของนก intermediate เหล่านั้น ผลที่ได้แสดงว่าเกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างนกกาบบัวและนกกระสาปากเหลืองในสภาพกรงเลี้ยงในประเทศไทย |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Hybridization is a mating between incompletely reproductive isolating species. As a consequence, introgression or gene flow of genetic materials between populations may occur through backcrossing process. In birds, especially endangered wading birds, study of introgressive hybridization is rarely reported. Previous studies have revealed the occurrence of interspecific hybridization between painted stork (M. leucocephala) and milky stork (M. cinerea) in captivities in Malaysia and Singapore. This study therefore aimed to assess possible hybridization between these bird species in Thailand by using molecular techniques. Blood samples of painted (n = 174) and milky storks (n = 49) were individually collected from Dusit Zoo, Bangkok and Nakhon Ratchasima Zoo, Nakhon Ratchasima Province, respectively. Genomic DNA was extracted from blood samples of all collected storks and DNA fingerprinting was performed for genotyping all stork individuals using LR7 marker via Random Amplification of Polymorphic DNA (RAPD) technique. Based on gel electrophoresis and genotyping analyses, the total numbers of 122 and 115 alleles were found in genomes of painted and milky storks, respectively. Of these, 2 alleles (1055 and 1070 bp) are unique to milky stork and are considered to be diagnostic markers for species identification. Moreover, the detection of these diagnostic alleles in intermediate individuals would indicate the historical hybridization between these two species in captivity. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
นกกาบบัว |
en_US |
dc.subject |
นกกระสา |
en_US |
dc.subject |
นก -- การพิสูจน์เอกลักษณ์ |
en_US |
dc.subject |
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ |
en_US |
dc.title |
การตรวจสอบการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างนกกาบบัวและนกกระสาปากเหลืองโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ |
en_US |
dc.title.alternative |
Identification of hybrids of painted stork and milky stork using DNA fingerprint |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |