Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการแตกหักของพอร์ซเลนบนชิ้นงานตัวอย่างที่มีความผันแปรของความหนาของโลหะและพอร์ซเลน โดยทำการทดสอบชิ้นงานโลหะเคลือบกระเบื้องขนาด 7 x 9 ม.ม.2 ที่มีความหนาของโลหะคงที่ 0.3 ม.ม. แต่มีความหนาของพอร์ซเลนต่างกัน คือ 0.7 ม.ม. 1.35 ม.ม. 2.0 ม.ม.2.65 ม.ม. และ 1.3 ม.ม. (กลุ่มที่ 1-5 ตามลำดับ) และชิ้นงานที่มีความหนาของพอร์ซเลนคงที่ 2.0 ม.ม. แต่มีความหนาของโลหะต่างกัน คือ 0.3 ม.ม. 0.1 ม.ม. 0.2 ม.ม. 0.4 ม.ม. 0.7 ม.ม. 1.0 ม.ม. และ 1.3 ม.ม. (กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 6-11 ตามลำดับ) กลุ่มละ 10 ชิ้น โดยเตรียมขึ้นตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต นำชิ้นงานที่ได้มายึดบนแป้นทองเหลืองด้วยซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ จากนั้นนำไปแช่ในน้ำกลั่น 37 องศา เซลเซียส 24 ชั่วโมง นำชิ้นงานที่ได้มาทดสอบด้วยแรงอัดในแนวดิ่งตรงตำแหน่งกึ่งกลางชิ้นงานจน พอร์ซเลนแตก ด้วยเครื่องทดสอบสากลรุ่น Instron 8872 ที่มีหัวกดรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 ม.ม. ความเร็วหัวกด 1 ม.ม./ นาที ผลการทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (X + S.D.) ของแต่ละกลุ่มมีค่าดังนี้ 1)2396.23 + 580.31 N 2)2644.93 + 373.05 N 3)2629.19 + 282.66 N 4)2436.32 + 312.34 N 5)2352.82 + 257.13 N 6)1551.14 + 682.92 N 7)2189.71 + 448.62 N 8)2565.61 + 217.44 N 9) 2722.25 + 247.08 N 10)2450.60 + 242.15 N และ 11)2611.42 + 333.15 N เมื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการทดสอบการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดแทมเฮน สรุปผลได้ว่า กลุ่มที่ 1-5 จะมีค่าเฉลี่ยแรงอัดสูงสุดที่ทำให้พอร์ซเลนเกิดการแตกหักแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนกลุ่มที่มีความหนาของพอร์ซเลนคงที่ 2.0 ม.ม. แต่มีความหนาของโลหะแตกต่างกัน กลุ่มที่โลหะหนา 0.1 ม.ม. จะมีค่าเฉลี่ยของแรงอัดสูงสุดที่ทำให้พอร์ซเลนเกิดการแตกหักต่ำที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับกลุ่มที่โลหะมีความหนา 0.3 ม.ม. 0.4 ม.ม. 0.7 ม.ม. 1.0 ม.ม. และ 1.3 ม.ม.ขณะที่กลุ่มที่มีโลหะหนา 0.3 ม.ม. 0.4 ม.ม. 0.7 ม.ม. 1.0 ม.ม. และ 1.3 ม.ม. มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และกลุ่มที่มีโลหะหนา 0.20 ม.ม. มีความแตกต่างกันของค่าเฉลี่ยแรงอัดสูงสุดที่ทำให้พอร์ซเลนเกิดการแตกหักอย่างมีไม่นัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) กับกลุ่มอื่นๆ ที่มีโลหะหนาต่างกัน