dc.contributor.advisor | ภาณุพงศ์ วงศ์ไทย | |
dc.contributor.author | ธิดารัตน์ อังวราวงศ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-04-14T04:51:51Z | |
dc.date.available | 2022-04-14T04:51:51Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.isbn | 9741434685 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78378 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการแตกหักของพอร์ซเลนบนชิ้นงานตัวอย่างที่มีความผันแปรของความหนาของโลหะและพอร์ซเลน โดยทำการทดสอบชิ้นงานโลหะเคลือบกระเบื้องขนาด 7 x 9 ม.ม.2 ที่มีความหนาของโลหะคงที่ 0.3 ม.ม. แต่มีความหนาของพอร์ซเลนต่างกัน คือ 0.7 ม.ม. 1.35 ม.ม. 2.0 ม.ม.2.65 ม.ม. และ 1.3 ม.ม. (กลุ่มที่ 1-5 ตามลำดับ) และชิ้นงานที่มีความหนาของพอร์ซเลนคงที่ 2.0 ม.ม. แต่มีความหนาของโลหะต่างกัน คือ 0.3 ม.ม. 0.1 ม.ม. 0.2 ม.ม. 0.4 ม.ม. 0.7 ม.ม. 1.0 ม.ม. และ 1.3 ม.ม. (กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 6-11 ตามลำดับ) กลุ่มละ 10 ชิ้น โดยเตรียมขึ้นตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต นำชิ้นงานที่ได้มายึดบนแป้นทองเหลืองด้วยซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ จากนั้นนำไปแช่ในน้ำกลั่น 37 องศา เซลเซียส 24 ชั่วโมง นำชิ้นงานที่ได้มาทดสอบด้วยแรงอัดในแนวดิ่งตรงตำแหน่งกึ่งกลางชิ้นงานจน พอร์ซเลนแตก ด้วยเครื่องทดสอบสากลรุ่น Instron 8872 ที่มีหัวกดรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 ม.ม. ความเร็วหัวกด 1 ม.ม./ นาที ผลการทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (X + S.D.) ของแต่ละกลุ่มมีค่าดังนี้ 1)2396.23 + 580.31 N 2)2644.93 + 373.05 N 3)2629.19 + 282.66 N 4)2436.32 + 312.34 N 5)2352.82 + 257.13 N 6)1551.14 + 682.92 N 7)2189.71 + 448.62 N 8)2565.61 + 217.44 N 9) 2722.25 + 247.08 N 10)2450.60 + 242.15 N และ 11)2611.42 + 333.15 N เมื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการทดสอบการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดแทมเฮน สรุปผลได้ว่า กลุ่มที่ 1-5 จะมีค่าเฉลี่ยแรงอัดสูงสุดที่ทำให้พอร์ซเลนเกิดการแตกหักแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ส่วนกลุ่มที่มีความหนาของพอร์ซเลนคงที่ 2.0 ม.ม. แต่มีความหนาของโลหะแตกต่างกัน กลุ่มที่โลหะหนา 0.1 ม.ม. จะมีค่าเฉลี่ยของแรงอัดสูงสุดที่ทำให้พอร์ซเลนเกิดการแตกหักต่ำที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กับกลุ่มที่โลหะมีความหนา 0.3 ม.ม. 0.4 ม.ม. 0.7 ม.ม. 1.0 ม.ม. และ 1.3 ม.ม.ขณะที่กลุ่มที่มีโลหะหนา 0.3 ม.ม. 0.4 ม.ม. 0.7 ม.ม. 1.0 ม.ม. และ 1.3 ม.ม. มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และกลุ่มที่มีโลหะหนา 0.20 ม.ม. มีความแตกต่างกันของค่าเฉลี่ยแรงอัดสูงสุดที่ทำให้พอร์ซเลนเกิดการแตกหักอย่างมีไม่นัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) กับกลุ่มอื่นๆ ที่มีโลหะหนาต่างกัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to study the porcelain fracture load of the varied thickness of metal and porcelain sample. The metal ceramic samples, 7 x 9 mm2 rectangular, were fabricated with constant metal thickness of 0.3 mm but varied porcelain thickness of 0.7, 1.35, 2.0, 2.65 and 3.3 mm (group 1-5, respectively) and with constant porcelain thickness of 2.0 mm but varied metal thickness of 0.3,0.1, 0.2, 0.4, 0.7, 1.0 and 1.3 mm (group 3 & 6-11, respectively). Ten samples of each group were prepared following manufacturer’s recommendations. Each sample was fixed to the supporting brass block with zinc phosphate cement. The bonded samples were stored at 37 C water for 24 hours . The sample was loaded at the center of the porcelain surface until fracture. Using an Instron universal testing machine model 8872 with a round carbide pin of 3 mm diameter stainless steel and at the crosshead speed of 1 mm/min. The means + S.D. of each group was by follow; 1)2396.23 + 580.31 N 2)2644.93 + 373.05 N 3)2629.19 + 282.66 N 4)2436.32 + 312.34 N 5) 2352.82 + 257.13 N 6)1551.14 + 682.92 N 7)2189.71 + 448.62 N 8)2565.61 + 217.44 N 9)2722.25 + 247.08 N 10)2450.60 + 242.15 N and 11) 2611.42 + 333.15 N. One-way ANOVA and Tamhane multiple comparisons revealed that the means of maximum compressive load for porcelain fracture of the group 1-5 were not significantly different(p>0.05). In the groups of 2.0 mm porcelain but varied metal thickness, the 0.1 mm of metal thickness group showed a minimum of the means of maximum compressive load and was significantly different (p<0.05) in comparison to the 0.3, 0.4, 0.7, 1.0 and 1.3 mm of metal thickness groups whereas the 0.3, 0.4, 0.7, 1.0 and 1.3 mm of metal thickness groups was not significally different (p>0.05). The means of maximum compressive load for porcelain fracture of the 0.2 mm of metal thickness group were not significantly different (p>0.05) in comparison to the other groups. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2156 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ทันตกรรมประดิษฐ์ | en_US |
dc.subject | ทันตกรรมบูรณะ | en_US |
dc.subject | วัสดุบูรณะ (ทันตกรรม) | en_US |
dc.subject | Prosthodontics | en_US |
dc.subject | Dentistry, Operative | en_US |
dc.subject | Fillings (Dentistry) | en_US |
dc.title | การแตกหักของพอร์ซเลนบนชิ้นงานตัวอย่างที่มีความผันแปรของความหนาโลหะและพอร์ซเลน | en_US |
dc.title.alternative | The fracture of porcelain on the varied thickness of metal and porcelain sample | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ทันตกรรมประดิษฐ์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.2156 |