DSpace Repository

รูปแบบของกระแสน้ำที่ผิวตามฤดูกาลที่ได้จากดาวเทียมอัลติมิเตอร์ บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ระหว่างปี ค.ศ. 2000 – 2019

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุริยัณห์ สาระมูล
dc.contributor.author ณัฐนันท์ วาระเพียง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-04-20T02:41:17Z
dc.date.available 2022-04-20T02:41:17Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78396
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract ข้อมูลกระแสน้ำที่ผิวที่ได้จากดาวเทียมอัลติมิเตอร์ถูกนำใช้เพื่อศึกษารูปแบบของกระแสน้ำที่ผิวตามฤดูกาลบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในช่วงปี ค.ศ. 2000 – 2019 จากนั้นนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสน้ำที่ผิวและลมมรสุมในทั้งสองบริเวณ ผลการศึกษาพบว่าในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียบเหนือ กระแสน้ำที่ผิวไหลจากกลางอ่าวไทยไปทางตะวันตกและไหลไปทางใต้ตามแนวชายฝั่ง รูปแบบกระแสน้ำที่ผิวมีการเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกา ส่วนบริเวณอันดามันนั้นกระแสน้ำที่ผิวมีการไหลจากทิศใต้ไปทางเหนือ ซึ่งรูปแบบกระแสน้ำที่ผิวมีการเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกา และในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ กระแสน้ำในบริเวณอ่าวไทยมีการไหลเลียบขึ้นทางฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย และมีรูปแบบการไหลที่ชัดเจนในทิศตามเข็มนาฬิกาและไหลเบนไปทางขวาของอ่าวและไหลออกทางชายฝั่งตะวันออกของอ่าว ส่วนในทะเลอันดามันมีทิศทางการไหลเข้าทางด้านทิศตะวันตกของทะเลกระแสน้ำมีการไหลเลียบลงทางชายฝั่งตะวันออก กระแสน้ำที่ผิวเคลื่อนที่แบบทวนเข็มนาฬิกา เมื่อนำข้อมูลลมในช่วงเวลาเดียวกันมาหาความสัมพันธ์กับกระแสน้ำที่ผิวดังกล่าว พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างกระแสน้ำที่ผิวและลมในพื้นที่ทั้งสองมีค่าค่อนข้างต่ำ หากพิจารณาเฉพาะค่าสหสัมพันธ์สูงสุดที่พบในอ่าวไทยและทะเลอันดามันพบว่ามีค่าประมาณ 1 และ 0.7 ตามลำดับ แต่บริเวณส่วนใหญ่ในพื้นที่ทั้ง 2 นั้นมีค่าสหสัมพันธ์ต่ำหรือค่าใกล้เคียง 0 และมีบางบริเวณที่มีค่าสหสัมพันธ์ใกล้เคียงกับ -1 บริเวณที่พบค่าสหสัมพันธ์มีค่าสูงได้แก่บริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียฝั่งตะวันออกและชายฝั่งประเทศเวียดนามซึ่งเป็นบริเวณที่พบปรากฎการณ์น้ำผุด/น้ำจม en_US
dc.description.abstractalternative The sea surface current data obtained from the altimeter satellites is used to study the pattern of seasonal surface current in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea during 2000 – 2019 and then to find the relationship between the sea surface currents and monsoon in both areas. The results show that during the northeast monsoon, the sea surface current flows from the middle of the Gulf to the west and flows to the south along the coast and this pattern that moves counterclockwise. As for The Andaman Sea, current flows from south to north and this pattern moves clockwise. During the southwest monsoon, the currents flow along the west coast of the Gulf of Thailand. It flows to the right of the gulf and flows out to the east coast of the gulf. This pattern circulates clockwise direction. In the Andaman Sea, there is an inflow of water on the west side of the sea and water flows along the east coast. The sea surface current pattern moves counterclockwise. When taking the wind data at the same time to find a relation to the surface water currents, found that the relationship between surface currents and wind in both areas is relatively low. Considering only the highest correlation values found in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea, it was found that the values were 0.9 and 0.6 respectively, but most areas in both areas have few correlations or close to 0 and some areas that have correlations close to -1. The highest values are the coastal areas of eastern Malaysia and the coast of Vietnam, where upwelling/downwelling are observed. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กระแสน้ำ -- อ่าวไทย en_US
dc.subject กระแสน้ำ -- ทะเลอันดามัน en_US
dc.subject Ocean currents -- Thailand, Gulf of en_US
dc.subject Ocean currents -- Andaman Sea en_US
dc.title รูปแบบของกระแสน้ำที่ผิวตามฤดูกาลที่ได้จากดาวเทียมอัลติมิเตอร์ บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ระหว่างปี ค.ศ. 2000 – 2019 en_US
dc.title.alternative Seasonal surface current pattern in the Gulf of Thailand and Andaman Sea derived from altimeter satellite during 2000 – 2019 en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record