DSpace Repository

การวิเคราะห์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวของสนามฟุตบอลในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สันติ ภัยหลบลี้
dc.contributor.author ภรภัทร พงศ์พัฒนศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-04-20T07:53:02Z
dc.date.available 2022-04-20T07:53:02Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78413
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract ในปัจจุบันฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทย ในแต่ละเกมส์การแข่งขันจะมีผู้เข้าชมมากตั้งแต่หลักพันคนจนถึงหลายหมื่นคนขึ้นอยู่กับความจุของสนามและทีมที่ลงแข่งขัน จึงทำให้สนามฟุตบอลกลายมาเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีผู้คนเข้ามาชุมนุมกันอย่างหนาแน่น ในการทำโครงงานวิจัยนี้เพื่อประเมินภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่อาจจะเกิดขึ้นในสนามฟุตบอล 34 แห่ง ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกมาจากทีมที่มีสนามฟุตบอลเป็นของตัวเอง และอยู่ในลีก (League) ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด โดยในงานวิจัยนี้ได้ประเมินภัยพิบัติโดยใช้วิธีการ 2 วิธี คือ การประเมินโดยใช้วิธีกาหนดค่า (DSHA) และการประเมินโดยใช้วิธีความน่าจะเป็น (PSHA) แบบ 2% ในรอบ 50 ปีและ 100 ปี และแบบ 10% ในรอบ 50 ปีและ 100 ปี จากการประเมินโดยทั้งสองวิธีนั้นพบว่าสนามฟุตบอลที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทยจะมีค่าความเร่งเชิงพื้นดิน (PGA) ที่สูงกว่าสนามฟุตบอลที่ตั้งอยู่ในบริเวณภูมิภาคอื่น โดยจากวิธีการกำหนดค่าพบว่าสนามฟุตบอลที่มีค่าความเร่งเชิงพื้นดินที่สูงที่สุดคือสนามฟุตบอลของสโมสรแพร่ ยูไนเต็ด จังหวัดแพร่ มีค่าอยู่ที่ 0.37g และจากวิธีความน่าจะเป็น 2% และ 10% ในรอบ 50 ปี และ 100 ปี ก็ยังคงเป็นสโมสรแพร่ ยูไนเต็ดที่มีค่าความเร่งเชิงพื้นดินสูงที่สุด ได้แก่ 0.49g 0.56g 0.33g และ 0.39g ตามลำดับ ซึ่งจากมาตรฐาน Eurocode 1998 จะพบว่ามีทั้งหมด 3 แห่งที่จัดอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ สนามฟุตบอลของสโมสรแพร่ ยูไนเต็ด จังหวัดแพร่, เชียงราย ยูไนเต็ด จังหวัดเชียงราย และลำปาง เอฟซี จังหวัดลำปาง en_US
dc.description.abstractalternative In the present time, football is one of the most popular sport in Thailand. In each game, there are many thousands of people come to a stadium to watch a match. The number of audiences depends on a stadium’s capacity and the interesting of a competing team. From the reason that I mentioned above, a football stadium is one of the places that attract people to gather. This senior project for estimate the seismic hazard in 34 football stadiums which I selected from teams that has their own stadium and can get attention from a large number of people. This project uses 2 methods for estimate the seismic hazard. They are Deterministic Seismic Hazard Analysis method (DSHA) and Probabilistic Seismic Hazard Analysis method (PSHA). The PSHA method uses 2% and 10% POE in 50 year and 100 year. From the estimated, the stadium in the northern and western parts of Thailand have higher peak ground acceleration (PGA) than the others. From DSHA method, the maximum PGA value is 0.37g in the Phrae United’s stadium. By the PSHA method 2% and 10% POE in 50 year and 100 year, the maximum PGA value is still in the Phrae United’s stadium. The values are 0.49g 0.56g 0.33g and 0.39g respectively. There are 3 stadiums in the risk of seismic hazard for Eurocode 1998 standard include Phrae United’s stadium, Chiangrai United’s stadium and Lampang FC’s stadium. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject พยากรณ์แผ่นดินไหว en_US
dc.subject Earthquake prediction en_US
dc.title การวิเคราะห์ภัยพิบัติแผ่นดินไหวของสนามฟุตบอลในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Seismic hazard analysis of football stadium in Thailand en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record