DSpace Repository

การศึกษาการกระจายตัวของตัวอ่อนปูม้าเนื่องจากกระแสน้ำบริเวณชายฝั่ง ตำบลพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุริยัณห์ สาระมูล
dc.contributor.author ปิยาพัชร โกมลฤทธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-04-21T03:57:10Z
dc.date.available 2022-04-21T03:57:10Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78434
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract ปูม้าเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ได้จากการทำประมงในตำบลพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรปูม้า ชาวบ้านได้จัดตั้งธนาคารปูม้าขึ้นมา การเลือกพื้นที่และฤดูกาลในการปล่อยตัวอ่อนปูม้าที่ ได้จากธนาคารปูม้ามีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของลูกปูม้าเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงทำการศึกษาการกระจายตัวของตัวอ่อนปูม้าในบริเวณชายฝั่งตำบลพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ (Delft3D-FLOW) ควบคู่กับแบบจำลองคลื่น (Delft3D-WAVE) โดยมีลมเป็นแรงขับที่ผิว จากนั้นนำกระแสน้ำที่ได้จากแบบจำลองดังกล่าว ไปใช้ศึกษาการกระจายของตัวอ่อนปูม้าด้วยแบบจำลอง Delft3D-PART เป็นระยะเวลา 1 ปี เปรียบเทียบ ลักษณะการเคลื่อนที่ของตัวอ่อนปูม้าในแต่ละเดือน จากการปล่อยตัวอ่อนปูม้าที่ต่างกัน 2 พื้นที่ คือ เกาะเสร็จ และเกาะปราบ ผลการศึกษาพบว่าหากปล่อยตัวอ่อนปูม้าระยะ Zoea (อายุ 0-3 วัน) บริเวณเกาะเสร็จ ในช่วงเดือน พฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และบริเวณเกาะปราบในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมและเดือนตุลาคม ตัวอ่อนปูม้าที่ปล่อยจะมีโอกาสลงเกาะและเจริญเติบโตไปเป็นตัวอ่อนระยะ Megalopa (อายุ 10-15 วัน) สำหรับกรณีอื่น ๆ พบว่าตัวอ่อนเคลื่อนเข้าสู่ฝั่งก่อนถึงเวลาลงเกาะ หรือเคลื่อนออกนอกพื้นที่ศึกษาก่อนถึงเวลาลงเกาะ จึงไม่สามารถคาดคะเนตำแหน่งการลงเกาะได้อย่างแน่ชัด จากการศึกษาพบว่าลมมรสุมมีอิทธิพลอย่างมากต่อทิศทางการเคลื่อน ตัวและพื้นที่ที่มีการลงเกาะของตัวอ่อนปูม้า ซึ่งผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปศึกษาต่อยอดและใช้ในการบริหารจัดการการปล่อยปูม้าของธนาคารปูม้าได้ en_US
dc.description.abstractalternative Blue swimming crab is one of the economic aquatic animals in Phum Riang coast, Surat Thani Province. To increase the opportunity, success and sustainability of resources and ecosystems, villagers established the blue swimming crab bank. The selection of areas and seasons for releasing blue swimming crab larvae has a great effect on their survival rate. Therefore, the distribution of blue swimming crab larvae in Phum Riang coast, Surat Thani Province was investigated using numerical models. First, the coupled hydrodynamics (Delft3D-FLOW) and wave model (Delft3D-WAVE) with the wind driving at the surface were simulated. Then the results from coupled model were used to study the distribution of blue swimming crab larvae using Delft3DPART model for 1 year. The movement of blue swimming crab larvae in each month and 2 different releasing sites, Koh Sed and Koh Prab, were compared. The results showed that Zoea stage (0-3 days) would have chance to recruit and grow into Megalopa stage (10-15 days), if the larvae are released from Koh Sed in May to October and Koh Prab in May to July and October. In other cases, the larvae moved into the shore before recruitment time or moved out of the study area before recruiting time, hence we cannot predict the specific recruitment location. It was also found that monsoonal winds had a great influence on the movement direction and recruitment area of blue swimming crab larvae. The result from this study can be used to manage the releasing of blue swimming crab larvae from crab banks. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ปูม้า -- ไทย -- สุราษฎร์ธานี en_US
dc.subject ปูม้า -- ตัวอ่อน en_US
dc.subject แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ en_US
dc.subject Blue swimming crab -- Embryos en_US
dc.subject Blue swimming crab -- Thailand -- Surat Thani en_US
dc.subject Mathematical models en_US
dc.title การศึกษาการกระจายตัวของตัวอ่อนปูม้าเนื่องจากกระแสน้ำบริเวณชายฝั่ง ตำบลพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ en_US
dc.title.alternative Numerical modeling of blue swimming crab larval dispersal in Phum Ring coast, Surat Thani province en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record