Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวตามแนวตั้งของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน บริเวณอาคารสูงประเภทสำนักงานและที่พักอาศัย ทำการเก็บตัวอย่างฝุ่น PM₁₀ โดยใช้ เครื่อง Aeroqual series 500 ที่ตรวจวัดแบบอ่านค่าได้ทันที ทำการตรวจวัดที่ระดับความสูง 4.5 และ 138.5 เมตร ของอาคารสำนักงาน ในช่วงวันที่ 13 – 27 มกราคม พ.ศ. 2563 สำหรับอาคาร ที่พักอาศัย ตรวจวัดที่ความสูง 12.8 เมตร และ 124.9 เมตร ในช่วงวันที่ 30 มกราคม – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จากการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยฝุ่นภายนอกอาคารบริเวณชั้นล่างและชั้นบนของ อาคารสำนักงานเท่ากับ 43.09±17.28 และ 46.96±26.20 μg/m³ ตามลำดับ และของอาคารที่พักอาศัยมีค่าเท่ากับ 42.65±16.84 และ 37.61±14.21 μg/m³ ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยฝุ่นภายในอาคารที่ ชั้นล่างและชั้นบนของอาคารสำนักงานเท่ากับ 41.71±19.60 และ 38.95±23.79 μg/m³ ตามลำดับ สำหรับชั้นล่างและชั้นบนของอาคารที่พักอาศัยมีค่าเท่ากับ 34.91±12.00 และ 26.11±9.19 μg/m³ ตามลำดับ รูปแบบการเปลี่ยนแปลงในรอบวันของฝุ่นภายนอกและภายในของทั้งสองอาคารแตกต่าง กัน โดยความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM₁₀ รายชั่วโมงของภายนอกอาคารสำนักงาน และอาคารที่พัก อาศัยมีค่าสูงสุดในช่วงเวลา 10.00 น. และ 17.00 น. ตามลำดับ และจะมีค่าต่ำสุดในช่วงเวลา 02.00 น. สำหรับอาคารสำนักงาน และ 01.00 น. สำหรับอาคารที่พักอาศัยเมื่อทำการเปรียบเทียบ ระหว่างฝุ่น PM₁₀ ภายในกับภายนอกอาคารทั้งสองความสูง พบว่าอาคารที่พักอาศัยมีค่า I/O ratio น้อยกว่า 1 แต่อาคารสำนักงานฝุ่น PM₁₀ ภายในมีค่าสูงกว่า 1 ความเข้มข้นฝุ่น PM₁₀ ที่อาคารที่พัก อาศัยมีค่าลดลงตามระดับความสูงคิดเป็น -11.36.6.23% ส่วนอาคารสำนักงานพบว่ามีบางวันที่ ความสูง 138.5 เมตร มีค่ามากกว่าความสูงที่ 4.5 เมตรคิดเป็น 6.66.7.83% ความสัมพันธ์ของปัจจัย ทางอุตุนิยมวิทยาของทั้งสองอาคารพบว่ามี 2 ปัจจัยที่ได้ผลไปในทางเดียวกัน คือ ความกดอากาศซึ่ง เป็นปัจจัยที่แปรผันตรงกับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM₁₀ และอีกปัจจัยหนึ่ง คือ ความเร็วลมที่ แปรผกผันกับความเข้มข้นฝุ่นละออง PM₁₀