Abstract:
ปัจจุบันน้ำมะพร้าวกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ที่ออกกำลังกายหรือนักกีฬา เพราะช่วยชดเชยวิตามินและแร่ธาตุที่สูญเสียไปและให้พลังงานต่ำ น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วย สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย เช่น วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ รวมทั้งยังมีกลิ่นหอมและรสชาติที่ดี ผลิตภัณฑ์ น้ำมะพร้าวในท้องตลาดมีความหลากหลายไม่มากนักและการแปรรูปน้ำมะพร้าวส่วนใหญ่จะใช้การแปรรูปด้วย ความร้อน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจที่จะทำน้ำมะพร้าวเข้มข้นโดยไม่ผ่านกระบวนการทางความร้อนโดยใช้การกรอง ด้วยเยื่อแบบออสโมซิสแบบผันกลับ (Reverse osmosis) ร่วมกับการใช้การกรองแบบอัลตราฟิลเตรชัน (Ultrafiltration) ที่เป็นการทำให้ปลอดเชื้อแบบเย็น (Cold sterilization) ในการลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำ มะพร้าว โดยคาดหวังว่ากระบวนการนี้จะสามารถรักษาคุณค่าทางโภชนาการและสารให้กลิ่นและกลิ่นรสต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าวไว้ได้ สามารถยืดอายุการเก็บรักษา และเป็นการเพิ่มทางเลือกในการบริโภคให้กับ ผู้บริโภค ในแผนงานที่เสนอไปได้วางวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการกรองโดยวิธีออสโมซิสแบบผันกลับ ต่อสมบัติทางกายภาพ ทางเคมีและทางจุลชีววิทยาของน้ำมะพร้าวและเพื่อศึกษาอายุการเก็บรักษาของน้ำมะพร้าว แต่เนื่องจากมีสถานการณ์ของโรคโควิด-19 จึงไม่สามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้อย่างครบถ้วน แต่สามารถ ดำเนินการในส่วนของการออกแบบและจัดสร้างอุปกรณ์กรองที่สามารถใช้ได้ทั้งการกรองแบบออสโมซิสแบบผัน กลับและอัลตราฟิลเตรชันซึ่งภายในห้องกรองสามารถเปลี่ยนเมมเบรนระหว่างเมมเบรนแบบท่อกลวงประเภท ออสโมซิสแบบผันกลับและอัลตราฟิลเตรชันได้ อุปกรณ์นี้สามารถรองรับความดันสูงที่จะใช้กับการกรองแบบ ออสโมซิสแบบผันกลับที่ต้องใช้ความดันไม่ต่ำกว่า 3 เมกะปาสคาลได้ พร้อมทั้งให้อัตราเร็วไหลผ่านผิวหน้า เมมเบรนได้ไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตรต่อวินาที และสามารถปรับความดันและอัตราเร็วไหลผ่านผิวหน้าเมมเบรนได้ ด้วยอินเวอร์เตอร์มอเตอร์และวาล์วเข็ม (Needle valve) นอกจากนี้ได้ทำการทดลองเพิ่มในส่วนของการกรองน้ำ มะพร้าวโดยใช้อุปกรณ์ที่บรรจุเมมเบรนประเภทไมโครฟิลเตรชัน (Microfiltration) ขนาดเล็กเพื่อศึกษารูปแบบ การกรองและประสิทธิภาพของการกรองกำจัดเชื้อ ซึ่งพบว่าสามารถลดจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดได้ขั้นต่ำ 2 log CFU/ml และลดจำนวนยีสต์และราในน้ำมะพร้าวได้ขั้นต่ำ 5 log CFU/ml ตามลำดับ ไมโครฟิลเตรชันจึง เป็นทางเลือกหนึ่งในวิธีการจัดการกับน้ำมะพร้าวเบื้องต้นก่อนที่จะนำไปผ่านกระบวนการกรองแบบออสโมซิสแบบ ผันกลับและอัลตราฟิลเตรชันในอุปกรณ์ที่สร้างขึ้น