DSpace Repository

สารฆ่าวัชพืชที่ตกค้างในปูนา Esanthelphusa nani จากพื้นที่เกษตรกรรมจังหวัดน่าน

Show simple item record

dc.contributor.advisor นพดล กิตนะ
dc.contributor.author ธัญญลักษณ์ บุญสร้าง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-04-22T06:18:22Z
dc.date.available 2022-04-22T06:18:22Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78454
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract ในปัจจุบันมีการใช้สารฆ่าวัชพืชปริมาณมากเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดการสูญเสียจากศัตรูพืชใน การทำเกษตรกรรม โดยจังหวัดน่านเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีการนำเข้าและใช้สารฆ่าวัชพืชเป็นปริมาณ มาก สารฆ่าวัชพืชเหล่านี้สามารถตกค้างและปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมและอาจส่งผลกระทบต่อ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นได้ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบสารฆ่าวัชพืช ได้แก่ พาราควอต และแอทราซีน ที่ตกค้างในปูนา Esanthelphusa nani ซึ่งเป็นสัตว์เฝ้าระวังที่ใช้ในพื้นที่ โดยเก็บตัวอย่างปูนาจากพื้นที่เกษตรกรรม 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เกษตรกรรมตำบลไหลน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ เกษตรกรรมอ้างอิงที่ไม่มีรายงานการใช้สารฆ่าวัชพืชมากว่า 10 ปีและพื้นที่เกษตรกรรมตำบล บ้านส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารฆ่าวัชพืชวัชพืชอย่าง ต่อเนื่องเป็นประจำ จากนั้นทำตัวอย่างมาทำแห้ง สกัดและตรวจสอบการตกค้างของสารด้วยวิธี ELISA พบว่าปริมาณพาราควอตที่ตกค้างในเนื้อเยื่อปูนาจากพื้นที่อ้างอิงมีค่า 4.39 ถึง 73.75 ng/g น้ำหนักแห้ง และจากพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการใช้สารฆ่าวัชพืชอยู่ในช่วง 29.31 ถึง 466.60 ng/g น้ำหนักแห้ง ส่วนปริมาณการปนเปื้อนของแอทราซีนในเนื้อเยื่อปูนาจากพื้นที่อ้างอิงอยู่ในระหว่าง 3.01 ถึง 15.07 ng/g น้ำหนักแห้ง และจากพื้นที่เกษตรกรรมที่มีรายงานการใช้สารฆ่าวัชพืชอยู่ในช่วง 3.77 ถึง 8.34 ng/g น้ำหนักแห้ง โดยการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปเผยแพร่ให้เกษตรกรตระหนักถึง ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในพื้นที่เกษตรกรรมต่อสุขภาพของสัตว์เฝ้าระวัง เกษตรกร ตลอดจน สิ่งแวดล้อม en_US
dc.description.abstractalternative Nowadays, herbicide has been intensively used in agricultural activities in order to increase the yield of the crop. Nan province is one of the provinces that imports large quantity of herbicides. These herbicides can be contaminated as residues in the environment and affects the organisms in the field. This study aimed to examine for residue of herbicides, including atrazine and paraquat, in the rice field crab Esanthelphusa nani, a sentinel species in this area. Crab samples were field collected from 2 agricultural areas in Wiangsa district, Nan province including 1) a reference agricultural area in Lai Nan sub-district where there is no record of herbicide utilization for more than 10 years, and 2) an agricultural area in San sub-district where herbicides were intensively and routinely used. The crab samples were freeze-dried, extracted and assayed for the herbicide residue by ELISA. The results showed that paraquat residue in rice field crabs from the reference site was 4.39-73.75 ng/g (dry weight) and 29.31-466.60 ng/g (dry weight) in crabs from the potential contaminated site. The atrazine residue in crabs from the reference site was 3.01 to 15.07 ng/g (dry weight) and 3.77 to 8.34 ng/g (dry weight) in crabs from the potential contaminated site. The result of this study should be disseminated to the local farmers to raise awareness on the potential impact of herbicide utilization on health of the sentinel species, farmers, and the environment. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สารพิษตกค้างทางเกษตรกรรม en_US
dc.subject ปูนา en_US
dc.subject Spraying and dusting residues in agriculture en_US
dc.title สารฆ่าวัชพืชที่ตกค้างในปูนา Esanthelphusa nani จากพื้นที่เกษตรกรรมจังหวัดน่าน en_US
dc.title.alternative Herbicide residues in the rice field crab Esanthelphusa nani living in Nan Province en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record