DSpace Repository

การเปลี่ยนแปลงระยะยาวของปริมาณเมฆในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1982-2015

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปัทมา สิงหรักษ์
dc.contributor.author สุจินันท์ อัครวัฒน์วรกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-04-26T02:20:59Z
dc.date.available 2022-04-26T02:20:59Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78473
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของปริมาณเมฆในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1982-2015 โดยใช้ข้อมูลปริมาณเมฆที่ปกคลุมประเทศไทยแบบรายเดือน จากชุดข้อมูล CLARA-A2 ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาแบบ Polar orbit AVHRR ความละเอียด 0.05°x0.05° ทำการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเชิงเส้น ของค่าสัดส่วนเมฆปกคลุม (Fractional Cloud Cover, CFC) เป็นรายภูมิภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้น ระหว่างปริมาณเมฆกับดัชนี Ocean Nino Index (ONI) ซึ่งบ่งชี้การเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ-ลานีญา ผลการศึกษาพบว่าปริมาณเมฆเฉลี่ยรายปีมากที่สุด คือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามลำดับ โดยที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคที่ติดกับทะเล จึงได้รับอิทธิพลโดยตรง นอกจากนี้ ปริมาณเมฆในทุกภูมิภาค มีการผันแปรระหว่างปี และมีความสัมพันธ์แบบตรงกันข้ามกับค่าดัชนี ONI ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้ เท่ากับ -0.517, -0.681, -0.738, -0.713 และ -0.800 ตามลำดับ โดยที่ ปีที่มีปริมาณเมฆมากสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ลานีญา และปีที่มีปริมาณเมฆน้อยสัมพันธ์กับปรากฏการณ์เอลนีโญ ขณะที่การเปลี่ยนแปลงระยะยาวของปริมาณเมฆในทุกภูมิภาค ไม่มีการแนวโน้มการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญ en_US
dc.description.abstractalternative This study investigates the long-term changes in cloud cover in Thailand between 1982 and 2015. The study uses CLARA-A2 dataset which is obtained from the AVHRR (Advanced Very High Resolution Radiometer) sensor carried by polar-orbiting operational meteorological satellites, with 0.05°x0.05° resolution. The linear trends of Fractional Cloud Cover (CFC) were analyzed by region: northeast, central, north, east and south. In addition, the linear correlations between the cloud content and the Ocean Nino Index (ONI) which indicates the El Nino-La Niña phenomenon were examined. The results showed that the average annual cloud cover was highest in the southern, followed by eastern, central, north-eastern and northern regions respectively. The southern and eastern regions locating adjacent to the sea were directly influenced by the moisture flux. The amount of clouds in every region showed interannual variation and exhibited negative correlation with the ONI index. The Pearson correlation coefficients for north, northeast, east, central and south regions were -0.517, -0.681, -0.738, -0.713, -0.800 respectively. The years with higher amount of cloud were associated with the La Niña events, whereas the years with smaller amount of cloud were associated with the El Nino phenomena. There were no significant increasing or decreasing trends in cloud cover in all regions. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เมฆ -- ไทย en_US
dc.subject Clouds -- Thailand en_US
dc.title การเปลี่ยนแปลงระยะยาวของปริมาณเมฆในประเทศไทย ระหว่างปี ค.ศ. 1982-2015 en_US
dc.title.alternative Long-term Changes of Cloud Cover over Thailand for the period 1982 to 2015 en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record