Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ขวดน้ำ PET (RPET) เป็นวัสดุเสริมแรงให้แก่พอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) โดยศึกษาผลของอัตราส่วนการผสม ความเร็วเครื่องตัดเม็ดเรซิน เกรดของ HDPE (H6140B, H6670B และ H377C) ต่อลักษณะของ RPET ที่กระจายตัวในเนื้อ HDPE เมทริกซ์ ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์อิเลกตรอนแบบส่องกราดของเม็ด RPET/PP ที่เตรียมด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ แสดงให้เห็นว่า RPET ไม่สามารถผสมเข้ากันได้กับ HDPE อนุภาค RPET มีลักษณะกลมบ้าง รีบ้าง และลักษณะคล้ายเส้ยใยขนาดเล็ก กระจายทั่วฟื้นผิว HDPE เมื่อพิจารณาผลของ RPET/HDPE พบว่าอนุภาค RPET ที่กระจายใน HDPE เมทริกซ์ของพอลิเมอร์ผสม 20/80 RPET/HDPE มีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าที่พบในพอลิเมอร์ผสม 10/90 RPET/HDPE จึงสรุปได้ว่าปริมาณ RPET ที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อขนาดอนุภาค RPET อีกทั้งเมื่อเตรียม RPET/HDPE ด้วยความเร็วตัดเม็ดสูง เอกทรูเดดที่ถูกดึงด้วยอัตราเร็วมากส่งผลให้ได้ขนาดอนุภาค RPET เล็กและเกิดเป็นลักษณะไฟบริลได้ดี ผลของ HDPE ที่มีค่า MFI ต่างกัน แสดงให้เห็นว่าอนุภาค RPET ที่พบใน HDPE เมทริกซ์จะมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเตรียมด้วย HDPE ที่มีค่า MFI ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า RPET/H377C ที่อัตราส่วน 10/90 มีปริมาณ RPET ไฟบริลมากที่สุด เกรดของ HDPE ยังส่งผลต่ออุณหภูมิในการขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่ H377C ที่มีค่า MFI ต่ำที่สุด สามารถขึ้นรูปด้วยช่วงอุณหภูมิขึ้นรูปที่ต่ำกว่า คือ 150-280 องศาเซลเซียสองค์ความรู้จากการศึกษานี้สามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกไซเคิลจาก PET และ HDPE ต่อไปได้