dc.contributor.advisor |
ปาหนัน เริงสำราญ |
|
dc.contributor.author |
อัษฎาวุธ แกล้วกล้า |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-04-26T04:24:15Z |
|
dc.date.available |
2022-04-26T04:24:15Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78477 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
มะเขือเทศเป็นพืชเศรษฐกิจหลักในหลายภูมิภาคของโลกรวมถึงประเทศไทย ซึ่งปัญหาที่เกษตรกรผู้เพาะปลูกมะเขือเทศพบคือ โรคเน่าที่มีสาเหตุมาจาก Fusarium solani ผู้วิจัยจึงสนใจเลือกวิธีการทางชีวภาพเพื่อมายับยั้งราดังกล่าวโดยใช้แอนตะโกนิสติกแบคทีเรีย 10 สายพันธุ์ โดยทดลองเลี้ยง F. solani ร่วมกับแบคทีเรีย 10 สายพันธุ์ ผลพบว่าแบคทีเรียทั้ง 10 สายพันธุ์สามารถยับยั้งราดังกล่าวได้ โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงสุดเมื่อยับยั้งด้วยแบคทีเรียสายพันธุ์ M25, M26 และ M27 ซึ่งมีค่าการยับยั้ง 38.97%, 36.15% และ 39.91% ตามลำดับ เมื่อนำน้ำเลี้ยงปราศจากเชื้อมาทดสอบผลการยับยั้ง โดยใช้อัตราส่วนการผสมน้ำเลี้ยงเชื้อปราศจากเซลล์ต่อ PDA ที่แตกต่างกัน ผลคือ แบคทีเรียสายพันธุ์ M26 ที่อัตราส่วน 2:10 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งรา 39.84% จากการหาภาวะที่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพการยับยั้งราโดยการใช้ชนิดของอาหารเลี้ยงเชื้อที่แตกต่างกัน ให้ผลชี้ว่าเมื่อเลี้ยงแบคทีเรียใน Luria-Bertani Broth จะให้เปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงกว่า Nutrient Broth และ Tryptic Soy Broth โดยมีการยับยั้ง 43.96%, 43.00% และ 17.87% สำหรับแบคทีเรีย M25, M26 และ M27 ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังต้องการศึกษาหาภาวะที่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพการยับยั้งราต่อไป ทั้งค่า pH ของอาหาร และระยะเวลาในการเลี้ยงแบคทีเรีย รวมถึงระบุชนิดของแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ที่มีความสามารถในการยับยั้ง F. solani ได้โดยใช้วิธีทางชีววิทยาระดับโมเลกุล งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาแบคทีเรียที่สามารถยับยั้ง F. solani ที่ก่อโรคในมะเขือเทศ แล้วนำแบคทีเรียดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการยับยั้งราและโรคด้วยวิธีการทางชีวภาพ เพื่อลดการใช้สารเคมีกำจัดราโรคพืช |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Tomatoes are one of the economic crops in many regions of the world including Thailand. The main problem which tomato growers have been facing with is rot disease caused by Fusarium solani. This research aimed to use biocontrol method to inhibit such fungus using 10 isolates of antagonistic bacteria. By cultivating F. solani together with each of 10 isolated bacteria in dual culture assay, the result suggested that all of bacteria had the antagonistic abilities against F. solani with the highest inhibition percentages that were derived from strain M25, M26, and M27 with 38.97%, 36.15%, and 39.91% inhibition, respectively. Cell free supernatant method was examined by mixing cell free supernatant with PDA at different ratios. The result indicated that the highest percentage of inhibition made up 39.84% was received by bacteria strain M26 in 2:10 ratio. Optimization conditions was determined by varying the type of media, pH, and incubation time. The medium that showed maximum antagonistic activity was Luria-Bertani Broth, followed by Nutrient Both and Tryptic Soy Broth; with 43.96%, 43.00% and 17.87% inhibition, respectively. The optimization experiments include pH of medium and incubation time, as well as bacterial identification by molecular biology method of the 3 antagonistic bacteria that had abilities to inhibit F. solani are necessary to be performed. The purpose of this research was to screen for the antagonistic bacteria against F. solani, the main causal agent of disease in tomatoes, and use them in biocontrol method in order to reduce the use of chemical fungicide. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
มะเขือเทศ -- โรคและศัตรูพืช |
en_US |
dc.subject |
โรคเกิดจากเชื้อราในพืช |
en_US |
dc.subject |
สารต้านเชื้อรา |
en_US |
dc.subject |
Tomatoes -- Diseases and pests |
en_US |
dc.subject |
Fungal diseases of plants |
en_US |
dc.subject |
Antifungal agents |
en_US |
dc.title |
แบคทีเรียปฏิปักษ์ต้าน Fusarium solani ที่ก่อโรคในมะเขือเทศ |
en_US |
dc.title.alternative |
Antagonistic bacteria against Fusarium solani, pathogenic fungus of tomatoes |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |