Abstract:
ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมเขตร้อนกลายเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ในหลายภูมิภาคและมัก เปลี่ยนแปลงมาจากพื้นที่ป่าธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแต่ผลกระทบ ต่อสัตว์ขาปล้องในดินมีการศึกษาวิจัยน้อย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความ หนาแน่นและความหลากหลายของสัตว์ขาปล้องในดิน ในพื้นที่เกษตรกรรมเขตร้อนบริเวณ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเปรียบเทียบบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน คือป่าไม้ธรรมชาติ สวนยางพาราอายุ 13 ปี และสวนปาล์มอายุ 5 ปี ด้วยวิธีวางกับดักหลุม (Pitfall trap) จากการเก็บตัวอย่าง 1 ครั้งในเดือนพฤษภาคม 2563 พบกลุ่ม (taxa) สัตว์ขาปล้องในดิน ทั้งหมด 11 กลุ่ม ป่าไม้ธรรมชาติ 11 กลุ่ม, สวนยางพาราอายุ 13 ปี 9 กลุ่ม และสวนปาล์มอายุ 5 ปี 5 กลุ่ม โดยสวนยางพาราอายุ 13 ปี มีความหนาแน่นของสังคมสัตว์ขาปล้องในดินเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 291.40 ตัว/หลุม กลุ่มของสัตว์ขาปล้องในดินบริเวณพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกันพบ กลุ่มที่พบมาก 2 กลุ่ม คือ F. Formicidae และ O. Collembola คิดเป็นร้อยละ 52.74 และ 43.07 ตามลำดับ และค่าดัชนีความหลากหลายของ Shannon-wiener (H’) มีค่าสูงที่สุดในพื้นที่ป่าไม้ ธรรมชาติ เท่ากับ 1.334 การศึกษาครั้งนี้ พบว่าการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลให้ความหลากหลายของกลุ่มสัตว์ขาปล้องลดต่ำลง แต่ความหนาแน่นของประชากรเพิ่มสูงขึ้น