Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของค่าความลึกเชิงแสง (Aerosol optical depth : AOD) และ ค่าคงที่ของอังสตรอม (Angstrom exponent : AE) ซึ่งบ่งบอกขนาดของละอองลอย ทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง ในระหว่างปี ค.ศ. 2009 – 2019 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม MODIS/Terra และหาความสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิอากาศและกิจกรรมของมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า เดือนมีนาคม มีค่าเฉลี่ย AOD สูงสุดในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าสูงสุดในเดือนกันยายน ส่วนค่า Angstrom exponent อยู่ในช่วงระหว่าง 0.8 -1.8 แสดงให้เห็นว่าพบละอองลอยได้ทั้งขนาดใหญ่ (AE<1) และเล็ก (AE>1) เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่า AOD และดัชนี Oceanic Nino Index (ONI) ซึ่งเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงปรากฏการณ์เอลนีโญ่ – ลานีญ่าได้ พบว่าช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมของภาคใต้ตอนล่าง มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์มากที่สุด (R= 0.70, p<0.01) ถือได้ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญ่ – ลานีญ่ามีความสัมพันธ์กับความผันแปรของค่า AOD ซึ่งปี ค.ศ. 2015 เกิดสภาวะเอลนีโญ่รุนแรง จะพบว่า AOD มีค่าสูงมากกว่าปีอื่นๆเช่นกัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลจุดความร้อนจากการเผาไหม้ (Hotspot) และแบบจาลองการติดตามอนุภาคในอากาศ HYSPLIT Model เพิ่มเติม แสดงให้เห็นว่า ละอองลอยจากประเทศข้างเคียงสามารถพัดเข้ามายังภายในประเทศไทยได้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่า AOD ที่ต่างกันออกไปตามฤดูกาลและช่วงปี