DSpace Repository

ความผันแปรรายฤดูกาลและระหว่างปีของความลึกเชิงแสง และขนาดของละอองลอยในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปัทมา สิงหรักษ์
dc.contributor.author จุฑามาศ คงลำธาร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-04-28T06:13:43Z
dc.date.available 2022-04-28T06:13:43Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78488
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 en_US
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของค่าความลึกเชิงแสง (Aerosol optical depth : AOD) และ ค่าคงที่ของอังสตรอม (Angstrom exponent : AE) ซึ่งบ่งบอกขนาดของละอองลอย ทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนล่าง ในระหว่างปี ค.ศ. 2009 – 2019 โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม MODIS/Terra และหาความสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิอากาศและกิจกรรมของมนุษย์ ผลการศึกษาพบว่า เดือนมีนาคม มีค่าเฉลี่ย AOD สูงสุดในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง ที่มีค่าสูงสุดในเดือนกันยายน ส่วนค่า Angstrom exponent อยู่ในช่วงระหว่าง 0.8 -1.8 แสดงให้เห็นว่าพบละอองลอยได้ทั้งขนาดใหญ่ (AE<1) และเล็ก (AE>1) เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่า AOD และดัชนี Oceanic Nino Index (ONI) ซึ่งเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงปรากฏการณ์เอลนีโญ่ – ลานีญ่าได้ พบว่าช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมของภาคใต้ตอนล่าง มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์มากที่สุด (R= 0.70, p<0.01) ถือได้ว่าปรากฏการณ์เอลนีโญ่ – ลานีญ่ามีความสัมพันธ์กับความผันแปรของค่า AOD ซึ่งปี ค.ศ. 2015 เกิดสภาวะเอลนีโญ่รุนแรง จะพบว่า AOD มีค่าสูงมากกว่าปีอื่นๆเช่นกัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลจุดความร้อนจากการเผาไหม้ (Hotspot) และแบบจาลองการติดตามอนุภาคในอากาศ HYSPLIT Model เพิ่มเติม แสดงให้เห็นว่า ละอองลอยจากประเทศข้างเคียงสามารถพัดเข้ามายังภายในประเทศไทยได้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่า AOD ที่ต่างกันออกไปตามฤดูกาลและช่วงปี en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to examine seasonal and interannual variation in aerosol optical depth (AOD) and Angstrom exponent (AE) which indicates the aerosol size in 5 regions of Thailand: northern, northeastern, eastern, central and lower-southern regions during the years 2009 – 2019 using data from the MODIS/Terra satellite. The relationship of AOD and climate factors and human activities are also investigated. The results showed that the highest AOD was found in March in every region except for the lower-southern region where AOD peaked in September. The Angstrom exponent was between 0.8 – 1.8 indicating that both large (AE <1) and small (AE> 1) particles can be found. The relationship between the AOD and the Oceanic Nino Index (ONI), which is an indication of the El Niño-La Niña phenomenon, were analyzed. The lower southern region showed the highest correlation (R = 0.70, p<0.01) indicating the connection of El Niño-La Niña and AOD variation. In 2015, there was a severe El Niño and the AOD was higher than other years. In addition, analysis of hotspot counts which suggest numbers of fire hotspots and particle trajectory from HYSPLIT (Hybrid Single Particle Lagrangian Integrated Trajectory) model showed that biomass burning aerosols can be blown from neighboring countries thereby affecting the variation of AOD in Thailand. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ละอองลอยในบรรยากาศ -- ไทย en_US
dc.subject ละอองลอย -- ไทย en_US
dc.subject Atmospheric aerosols -- Thailand en_US
dc.subject Aerosols -- Thailand en_US
dc.title ความผันแปรรายฤดูกาลและระหว่างปีของความลึกเชิงแสง และขนาดของละอองลอยในประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Seasonal and Interannual Variation of Aerosol Optical Depth and Aerosol Size in Thailand en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record