Abstract:
เรณูวิทยาของพืชแต่ละชนิดจะมีสัณฐานเฉพาะ สามารถต้านทานการกัดกร่อนและสามารถบอกสังคมของพืชบริเวณที่โดยรอบได้ จึงเป็นตัวบ่งชี้ที่นิยมนำมาใช้ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมร่วมกับธรณีเคมี และตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ จากการวิเคราะห์ละอองเรณูรวม 8 ตัวอย่าง และมวลที่หายไปจากการเผารวม 100 ตัวอย่าง พบว่า ละอองเรณูไม่มีการเปลี่ยนแปลงชนิดของพันธุ์พืชและปริมาณอย่างมีนัยสำคัญ แต่มวลที่หายไปจากการเผาที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียสมีการเปลี่ยนแปลง พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงเป็นปริมาณอินทรีย์วัตถุเป็นวัฏจักร โดยช่วงความลึกที่มีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูง สะสมตัวร่วมกับตะกอนดินเหนียวสีเข้ม ที่พบซากพืช ซากอินทรีย์ในเนื้อตะกอน บ่งชี้ว่าตะกอนนี้ได้รับอิทธิพลจากน้ำท่าปริมาณมากที่พัดพาอินทรีย์วัตถุมาสะสมตัวในทะเลสาบมาก และช่วงความลึกที่มีพบปริมาณอินทรีย์วัตถุน้อย โดยไม่พบซากพืช ซากอินทรีย์สะสมในเนื้อตะกอน บ่งชี้ว่าตะกอนนี้ได้รับอิทธิพบจากน้ำท่าปริมาณน้อย ดังนั้นละอองเรณู อินทรียวัตถุ และตะกอนหนองคอนไทย มีต้นกำเนิดจากน้ำท่าไหลผ่านผิวดินพาอินทรียวัตถุและตะกอนเข้าสู่ทะเลสาบ