dc.contributor.advisor |
พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา |
|
dc.contributor.author |
ภัทรพล เจนพรมราช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-02T02:36:20Z |
|
dc.date.available |
2022-05-02T02:36:20Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78497 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
en_US |
dc.description.abstract |
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ได้ ประเทศไทยได้มีการประเมินสถานภาพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบว่าเป็นชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมดที่ถูกค้นพบ ทั้งยังมีจำนวนที่สูงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยังไม่เป็นที่แพร่หลายในสังคมไทย ทั้งยังขาดเครื่องมือในการขยายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการจัดการสัตว์ป่าแก่ประชาชนในวงกว้าง ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การสร้างเกมและสถานการณ์จำลอง สำหรับเป็นสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายและการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทย และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของเกมและสถานการณ์จำลองนี้ โดยได้มีการนำข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยที่ถูกจัดสถานะเป็นชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามมาสร้างเกมและสถานการณ์จำลองในลักษณะของเกมการ์ด ชื่อว่า “Wild Villa ในป่ามีสัตว์” ผู้เล่นแต่ละคนมีบทบาทเป็นทั้งผู้อนุรักษ์สัตว์ในพื้นที่ของตนเองและเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากสัตว์ในพื้นที่ของผู้เล่นอื่น จากการนำเกมและสถานการณ์จำลองไปทดสอบประสิทธิภาพกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและจังหวัดน่าน จำนวน 290 คน รวม 13 รอบ (gaming session) และทำการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ผ่านการทำแบบทดสอบความเข้าใจก่อนและหลังการเล่นเกมซึ่งแบ่งเป็น 2 ชุดคำถาม พบว่าผู้เล่นมีพฤติกรรมการเล่นที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจในรูปแบบการเล่น รวมทั้งมีการวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายในการเล่นได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะมีระยะเวลาในการเล่นเพียง 20 นาที ในด้านประสิทธิภาพของเกมสำหรับใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ พบว่าผู้เล่นมีคะแนนหลังการเล่น (4.61±1.60 คะแนนในชุดที่ 1 (n=145) และ 4.65±2.60 คะแนนในชุดที่2 (n=125)) สูงกว่าคะแนนก่อนการเล่น (3.62±1.43 คะแนนในชุดที่ 1 และ 2.88±1.35 คะแนนในชุดที่ 2) อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (paired t-test, p=0.05) แสดงให้เห็นว่าเกมและสถานการณ์จำลองในรูปแบบการ์ดเกมนี้มีศักยภาพการเป็นสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลาย การอนุรักษ์ และจัดการสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งนี้ ควรมีการสร้างเกมและสถานณ์จำลองเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยในทะเลเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ของกลุ่มเป้าหมายให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Mammals are natural resources that have been increasingly used by humans nowadays, which might cause the risk of their extinction. In Thailand, one-third of known mammal species were evaluated as threatened species, with the increasing number over the past decade. However, mammalian extinction awareness is still low in society, and learning tool on animal conservation and management is not well developed and used. Therefore, this study aims to 1) create gaming and simulation for learning on mammalian species diversity in Thailand and conservation practices, and 2) evaluate its effectiveness. Data on threatened mammal species in Thailand were used to create a gaming and simulation in form of a card game, in which each player has the role of conservationist in their own area and exploiter in other players’ areas. Thirteen gaming sessions were implemented with a total of 290 high school students from Saraburi and Nan provinces. Two sets of pretest and posttest were used to assess the effectiveness of the game. The result on players’ decision and discussion showed that they understood the mechanism and dynamic of the game. They could plan their strategies to reach the goal effectively in a short playing time (around 20 minutes). For the effectiveness of the tool on learning contribution, the posttest scores for both sets (4.61±1.60 on the first set, n=145, and 4.65±2.60 on the second set, n=125) were significantly higher (paired t-test, p=0.05) than the pretest scores (3.62±1.43 on the first set, and 2.88±1.35 on the second set). In conclusion, this gaming and simulation had the potential to be a learning tool on mammal species diversity, conservation, and management. For future research, a game about marine mammals should be created to fulfill the student knowledge. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
en_US |
dc.subject |
การอนุรักษ์สัตว์ป่า -- เกม |
en_US |
dc.subject |
สถานการณ์จำลอง (การสอน) |
en_US |
dc.subject |
Mammals |
en_US |
dc.subject |
Wildlife conservation -- Games |
en_US |
dc.subject |
Simulated environment (Teaching method) |
en_US |
dc.title |
เกมและสถานการณ์จำลองเพื่อการเรียนรู้การอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
en_US |
dc.title.alternative |
Gaming and simulation for learning on mammal conservation |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |